ชนชั้นนำไทย เข้าควบคุมการใช้เงินภาษี เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้นำสังคมไทยอยู่ใน “รัฐอาณานิคม” ดังนี้
1 ให้ความสำคัญกับการผลิตแรงงานราคาถูกที่เหมาะสมกับการทำงานในอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องใช้ทักษะสูง ไม่ผลิตคนที่มีความสามารถในระดับนานาชาติทำให้ไทยต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากต่างชาติ
2 ทำให้คนไทยขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการสร้างสรรค์ ซึ่งจำเป็นในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ครูส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฝึกหัดให้สอนทักษะดังกล่าวได้
3 ใช้หลักสูตรและการเรียนการสอนที่ล้าหลัง ไม่มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนที่เน้นทักษะศตวรรษที่ 21 เช่น การเรียนรู้ตลอดชีวิต , STEM, หรือดิจิทัลเทคโนโลยี
4 สร้างระบบคิดที่ขาดความตระหนักต่อสิทธิและเสรีภาพ โดยการเรียนการสอนมุ่งเน้นการส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยไม่ตั้งคำถามต่อความอยุติธรรมทางสังคม ทำให้เกิดการ “ยอมรับ” การกดขี่หรือความเหลื่อมล้ำโดยไม่รู้ตัว มุ่งเน้นการควบคุมเชิงวินัยมากกว่าการสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ตั้งคำถามกับระบบที่กดขี่