ปรากฏการณ์ความขัดแย้งแนวทางการเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้าระหว่างแนวทางใหม่กับแนวทางเก่าหรือระหว่างอาจารย์เบียร์กับกลุ่มพระสงฆ์และศิษยานุศิษย์กลุ่มหนึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นความบกพร่องของสังคมไทย ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการสมคบคิดของคณะบุคคลคณะหนึ่งดังนี้
- หนึ่ง มีค่านิยมที่เน้นตัวบุคคลมากกว่าเนื้อหาคำสอน สังคมยังไม่คุ้นเคยกับการแยกแยะระหว่างคุณค่าของคำสอนและความเป็นตัวตนของผู้สอน สังคมไทยมักประเมินความน่าเชื่อถือของผู้สอน จากภาพลักษณ์และพฤติกรรมส่วนตัว มากกว่าการวิเคราะห์คำสอนอย่างเป็นกลาง ถ้าเป็นฆราวาสหากพบว่าผู้เผยแพร่คำสอนมีประวัติส่วนตัวหรือการดำเนินชีวิตที่ไม่ตรงกับ “แบบแผน” ของผู้สอนในอุดม คติ อาจถูกโจมตีหรือด้อยค่าความน่าเชื่อถือโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าของคำสอน
- สอง ขาดความสามารถในการวิเคราะห์วิจารณ์ การศึกษาคำสอนมักอยู่ในกรอบของความเชื่อและการปฏิบัติตามมากกว่าการพิจารณาด้วยเหตุผล ทำให้การวิจารณ์แนวคิดใหม่เกิดขึ้นจากอารมณ์หรือความไม่พอใจในตัวบุคคลมากกว่าคำสอน
- สาม มีทฤษฎีสมคบคิดที่จะพยายามรักษาอำนาจและอิทธิพลของกลุ่มตนที่ครอบครองระบบเดิม การกีดกันผู้เผยแพร่คำสอนพระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้มาจากสถาบันทางศาสนาที่ได้รับการยอมรับ หรือไม่ได้มีความสัมพันธ์เชิงระบบอุปถัมภ์กับกลุ่มตน ไม่ใช่พระสงฆ์หรือไม่ได้ผ่านการบวชเรียน โดยเฉพาะผู้เผยแพร่นอกระบบที่สามารถดึงดูดความสนใจของสาธารณชนได้ อาจถูกมองว่าเป็นคู่แข่งที่แย่งชิงเงินบริจาค แย่งชิงความศรัทธาหรือการสนับสนุนจากผู้ศรัทธา
การเผยแพร่คำสอนพระพุทธเจ้าในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ปรับให้เข้ากับยุคสมัยและเข้าถึงประชาชนมากขึ้น อาจถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อโครงสร้างแบบดั้งเดิมของตน