ประวัติศาสตร์การแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวของไทย
ในอดีต ไม่มีการพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหว เริ่มมีการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวเมื่อมีเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ทำให้ไทยตระหนักถึงความจำเป็นของระบบเตือนภัยพิบัติ
รัฐบาลไทยจัดตั้ง ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีการติดตั้งทุ่นเตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย และพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัย ผ่านหอเตือนภัย แต่เชื่อมกับเซ็นเซอร์จากทุ่นเตือนภัยสึนามิเพียงสิบกว่าแห่ง
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ภายใต้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยได้สร้างสุสานหอเตือนภัยขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบันมีหอเตือนภัยทั่วประเทศ 345 แห่ง โดยต้องใช้คนไปกดสัญญาณเตือนภัยพร้อมใช้ไมโครโฟนประกาศแจ้งเตือนภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกมาก จะมีใครกล้าไปกดสัญญาณเตือนภัย
ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นเพียงพิธีกรรม เช่น จัดซ้อมอพยพประชาชน หรือทำพีอาร์ประชาสัมพันธ์
ใช้งานจริงก็ต้องรอการสั่งการจากส่วนกลางให้กดสัญญาณได้
แต่อนาคตเรามืดมน ขนาดว่ากองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเอง ที่มีผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
และผู้เชี่ยวชาญของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอยู่เกือบร้อยคน ซึ่งตำแหน่งเทียบกับชั้นนายพลของกองทัพ ยังกล้ากล้า กลัวกลัว
ในการส่งเอสเอ็มเอส แจ้งประชาชน แถมข้อความที่ส่งออกมาก็แทบจะไม่มีประโยชน์อันใดกับประชาชน คงกลัวจนไข้ขึ้นสมองนั้งตัวสั่นกอดขาเก้าอี้อยู่ตั้งนานกว่าจะทำใจปฏิบัติหน้าที่ได้
จนนายกแพทองธารออกมาตัดพ้อว่า ตนเองผิดเองที่สั่งการให้ส่งเอสเอ็มเอสให้ได้ภายในบ่ายสอง แต่ลืมไปว่าต้องส่งข้อความว่ายังไง ทำให้การส่งเอสเอ็มเอสของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแทบจะไม่มีเนื้อความที่เป็นประโยชน์อะไรกับประชาชน