การใช้รถใช้ถนนเป็นผลผลิตของยุคสมัย ที่ถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขทางสังคมและประวัติศาสตร์ มีการกำหนดความสัมพันธ์
มีกระบวนการขัดเกลาทางสังคม มีการแสดงออกพฤติกรรมที่หลากหลาย และมีปฏิกิริยาตอบสนอง ๒ ลักษณะ คือ
1.ทางกายภาพ เช่น พฤติกรรมการผักผ่อน การรักษาสุขภาพ การทำร้ายกันทางอ้อม
2.ทางจิตใจ เช่น แสดงการทำความดี ความมีน้ำใจ โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อต่อผู้ร่วมใช้รถใชถนน
กรอบแนวคิดสำหรับการพิจารณาการใช้รถใช้ถนนในยุคหลังสมัยใหม่
1.กรอบแนวคิดญาณวิทยา ได้แก่ เป็นกลาง(ภววิสัย)/อัตวิสัย มีอคติ/ปราศจากอคติ มีอำนาจ/ไร้อำนาจ
ความเป็นหญิง/ความเป็นชาย เป็นต้น
2.กรอบแนวคิดภาวะวิทยา ได้แก่ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นฆาตกร ความเป็นคนดี ความเป็นคนมีระเบียบวินัย
ความมีจริยธรรม เป็นต้น
3.กรอบแนวคิดมนุษยศาสตร์ ได้แก่ การสื่อสาร นวัตกรรมใหม่ รูปแบบกิจกรรม รูปแบบการนันทนาการ
4.กรอบแนวคิดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ ได้แก่ ระเบียบกฏหมาย มาตรการทางสังคม กลไกการควบคุม เป็นต้น
ดังนั้น จะเห็นองค์ประกอบมากมายในการปฏิบัติการทางสังคมบนท้องถนนของคนในสังคม สะท้อนให้คิดได้ว่า
การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงร่วมกันอย่างเป็นระบบ ภายใต้กรอบปฏิบัติการทางสังคม
ที่สร้างความปลอดภัยให้กับทุกคน สร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม