การบริหารจัดการภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ล้มเหลวนำสู่ความเสี่ยงภัยของประชาชนมากขึ้น เนื่องจาก
1.การแจ้งเตือนภัยเป็นไปด้วยความล่าช้า ไม่มีแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยเพียงพอ ทำให้ประชาชนทั่วกรุงเทพมหานครและปะริมนฑน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยและทำงานในตึกสูงได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต และตื่นตระหนกหลายล้านคน
2.การลดระดับภัยโดยไม่ประเมินผลกระทบอย่างรอบคอบ
3.จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม
และแผนบริหารความต่อเนื่องภายใต้สภาวะวิกฤตอย่างไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถนำมาปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชน เมื่อนำมาปฏิบัติแล้วไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน
ความล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพดังกล่าวนำสู่ความเสี่ยงภัยของประชาชนมากขึ้น ดังนั้นประชาชนหรือองค์กรที่ได้รับผลกระทบมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดำเนินการ ดังนี้
1.ปฏิรูปองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
2.ปรับปรุงแก้ไขแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม
และแผนบริหารความต่อเนื่องภายใต้สภาวะวิกฤต
3.ปรับปรุงพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัย
ซึ่ง ด้วยวัฒนธรรมขององค์กร และศักยภาพของคนในองค์กรคาดว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองได้ ประชาชนก็พิจารณาผลการดำเนินการที่แก้ไขปรับปรุงอย่างไร้ประสิทธิภาพประสิทธิผลนั้น ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองอีกครั้ง เป็นครั้งที่สอง เพื่อให้มีคำสั่งบังคับคดี หรือให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก้ไขปรับปรุงใหม่ พร้อมทั้งขอให้ศาลกำหนดค่าปรับทางปกครองด้วย โดยเงินค่าปรับจะตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ใช่ให้แก่ผู้ฟ้อง และขอให้พิพากษาสั่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีการดำเนินการพิจารณาความรับผิดทางวินัยของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ