เมื่อ กอ.รมน. ตัดสินใจ “แจ้งจับพอล แซมเบอร์ส” นักวิชาการอเมริกันผู้วิจารณ์บทบาทกองทัพในไทย
คำถามไม่ใช่ว่าเขาผิดหรือไม่ผิด — แต่คือ ใครในองค์กรนี้คิดว่านี่เป็น “ความมั่นคง” ที่คุ้มค่าต่อผลกระทบระดับประเทศ?
ในวันที่ไทยกำลังเจรจาภาษี การค้ากับสหรัฐฯ ต้องการส่งออก ต้องการดึงทุน ต้องการรื้อฟื้นความเชื่อมั่นในสายตาชาติตะวันตก
กอ.รมน. กลับยิงตัวเองกลางโต๊ะเจรจา ด้วยการ “เล่นงานนักวิชาการต่างชาติ” ที่โลกภายนอกมองว่า “แค่พูดความจริงไม่ถูกใจผู้มีอำนาจ”
จะขอ GSP (สิทธิพิเศษทางภาษี) หรือจะขอ “ความเห็นใจ” จากคู่ค้า ยังกลายเป็นเรื่องยาก
เพราะภาพจำของประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ “ห้ามตั้งคำถามกับกองทัพ” แม้แต่ในเชิงวิชาการ
หรือจะบอกว่านี่คือการ “ปกป้องศักดิ์ศรีกองทัพ”?
งั้นถามหน่อย — เอาศักดิ์ศรีของกองทัพไปแลกกับ “ความเสียหายด้านการทูต-การค้า” ของทั้งประเทศ นี่คือการวางน้ำหนักที่ถูกแล้วหรือ?
“ถ้าจะคุ้มครองรักษาอะไรสักอย่าง” ก็ควรรู้ก่อนว่า “อะไรคือภัยแท้จริง”
“หรือไม่ก็เปลี่ยนชื่อไปเลยว่า” “กองอำนวยการรักษาผลประโยชน์ภายในของใครบางคน” “จะได้ไม่หลอกลวงกันอีกต่อไป”
จะได้ทนซ้ำใจกับแค่ “การของบประมาณมาทำโครงการทำมาหาแดก” “แดกเปอร์เซ็นต์” โดยอ้างว่าเพื่อความมั่นคง