ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 หน่วยงานภาครัฐที่มีการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อสร้างการรับรู้สู่สังคมไทย
ให้เกิดความตระหนักต่อปัญหาอุบัติเหตุ
หากมองอย่างตรงไปตรงมาแล้ว กล่าวได้ว่า การดำเนินการยังคงรูปแบบเดิมๆ โดยมีข้อเน้นยำ้มุ่งเน้นในแต่ละปีเล็กๆน้อย เช่น
การใช้มาตรการด่านชุมชน การกำหนดความเร็วในพื้นที่ชุมชน การบังคับใช้กฎหมายโดยใช้บทลงโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด การยึดรถตามคำสั่ง คสช.
ซึ่งข้อเท็จจริง คนขับรถบนถนนที่มีพฤติกรรมขับเร็ว หรือมีระดับแอลลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกินกว่ากฏหมายกำหนด จำนวน 100 คน
มีโอกาสถูกตรวจสอบจับปรับ/บังคับใช้กฎหมาย 2 คน เท่านั้น มีเพียงการไม่พกใบอนุญาต ไม่ต่อประกันภัย บรรทุกเกินอัตรา ใช้รถผิดประเภท
ที่มีโอกาสถูกบังคับใช้กฎหมาย 35 คน
อีกทั้ง มาตรการด่านชุมชน คนขับรถ 100 คน ได้สัมผัสกับกับการปฏิบัติงานด่านชุมชน 0.01 คน เท่านั้น
และแม้จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการการปฏิบัติทุกหน่วยงานและภาคเอกชนในพื้นที่ แต่ก็ดำเนินการบนพื้นฐานข้อสั่งการ/แนวนโยบายเดิมๆ
เรียกว่า กำลังคน กำลังทรัพยากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ดูเหมือนจะมียุทธศาสตร์แต่เมื่อยุทธศาสตร์นั้นไม่มีผลกระทบใดๆ
ก็เหมือนไร้ยุทธศาสตร์ หรือ ไม่สามารถแทรกแซงแบบแผนทางสังคมวัฒนธรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งแบบแผนทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผล
ต่ออุบัติเหตุทางถนน มีดังนี้
1.แบบแผนการดื่มสุราที่ไร้ขอบเขต ไม่มีกฏเกณฑ์ในการดื่ม
2.แบบแผนระบบอุปถัมภ์ ที่ความเป็นอภิสิทธิ์ชนเอื้ออำนวยความสะดวก และผลประโยชน์แก่ตน
3.แบบแผนขาดสำนึกประชาธิปไตย ไม่เคารพสิทธิผู้อื่น ไม่รักษาสิทธิของตน
ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหา
1.รวบรวมกรณีอุบัติเหตุเผยแพร่ สืบค้นได้ไม่ใช่เฉพาะตัวเลขสถิติ
2.ส่งเสริมสนับสนุนการเรียกร้องความผิดทางละเมิดต่อผู้ประสบอุบัติเหตุ
3.จัดทำระบบคุ้มครองรักษาสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยทางถนนให้เข้มแข็ง (เอาคนที่ได้รับผลกระทบไปกดดันผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง
ทั้งนี้ ต้องเริ่มตั้งแต่ภาครัฐที่ได้รับความเสียหาย เป็นกรณีตัวอย่าง ด้วยนะครับ อย่าโยนให้คนเจ็บคนตายอย่างเดียว)
——————-;;;;;;;;””””””””’—————————