ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2560 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับมอบหมายให้จัดทำข้อเสนอเพื่อออก ม.44 ให้สามารถบังคับใช้ช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ปี 2560
ซึ่งเท่าที่มีโอกาสรับฟังแนวคิดของผู้มีหน้าที่จัดทำคงไปในแนวเพิ่มบทลงโทษ ตำรวจต้องเหนื่อยมากขึ้น และคงขาดการสร้างพลังการมีส่วนร่วมจำกัดพื้นที่จำกัดพฤติกรรมเสี่ยง
ดังแนวทางต่อไปนี้
๑. ให้กรมการขนส่งทางบก แยกใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ เป็น ๓ ประเภท คือ ๑) ไม่เกิน ๑๕๐ ซีซี ๒) ไม่เกิน ๒๕๐ ซีซี ๓) เกิน ๒๕๐ ซีซี และดำเนินการออกใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ดังนี้
๑.๑ ผู้ที่มีอายุ ๑๕-๒๐ ปี ให้สามารถขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน ๑๕๐ ซีซี
๑.๒ ผู้ที่มีอายุ ๒๑ ปีขึ้นไป ให้สามารถขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน ๒๕๐ ซีซี และให้นำรถจักรยานยนต์มาสอบภาคปฏิบัติด้วยแต่หากต้องการขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์มากกว่า ๒๕๐ ซีซี ต้องมีใบรับรองผ่านการฝึกอบรมการขับขี่จากผู้จำหน่ายหรือตัวแทนจำหน่าย
๒.ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบกดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลผู้กระทำผิดซ้ำและให้ประสานกรมการขนส่งทางบก ในกรณี ผู้ขับขี่กระทำผิดตามมาตรการ ๑๐ รสขม จำนวน ๑๐ ครั้งภายในระยะเวลา ๑ ปี นับจากการบันทึกความผิดครั้งแรก ให้แจ้งกรมการขนส่งทางบกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เป็นเวลา ๑ ปี
๓.ให้สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำฐานข้อมูลผู้เข้ารับการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จากอุบัติเหตุทางถนน ทั้ง admit และไม่ admit จำนวน ๑๐ ครั้ง ภายในระยะเวลา ๑ ปี จัดส่งให้กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมดำเนินการคุมประพฤติ โดยให้บำเพ็ญประโยชน์การดูแลผู้ประสบอุบัติเหตุ admit ณ โรงพยาบาลที่ตนสะดวก เป็นเวลา ๑๐ ชั่วโมง
๔. ให้กรมการปกครอง โดยอำเภอทุกอำเภอ ดำเนินการจัดตั้งด่านชุมชน อำเภอละ ๑ ครั้งต่อเดือน โดยดำเนินการตรวจตักเตือนการใช้ความเร็วในการขับขี่ให้เป้นไปตามกฎหมายกำหนด และตักเตือนผู้เมาสุราแล้วขับขี่
๕. ให้กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมควบคุมโรค ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน(ระดับกลาง)กรณีที่มีผู้เสียชีวิต 2 คน หรือมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต จำนวน ๔ คนในอุบัติเหตุแต่ละครั้ง
๖.ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บูรณาการร่วมกับกรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก กรมสรรพสามิต กรมควบคุมโรค และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดทำสื่อสังคมออนไลน์รับแจ้งพยานหลักฐานความผิดกฎหมายจราจร
๗. ให้ทุหน่วยงานของรัฐดำเนินการมาตรการองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดตามมาตรการ ๑๐ รสขม. จำนวน ๕ ครั้ง ภายในระยะเวลา ๑ ปี นับจากการกระทำผิดครั้งแรก ให้งดการการเลื่อนเงินเดือนค่าจ้างในรอบครึ่งปีนั้น
๘. หากนักเรียนนักศึกษาประสบอุบัติเหตุทางถนน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่เร็วเกินกฎหมายกำหนด และมีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่ากฎหมายกำหนด ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการ ดังนี้
๘.๑ ยึดรถจักรยานยนต์ เป็นเวลา ๓ เดือน
๘.๒ หากประสบอุบัติเหตุซ้ำๆ ติดต่อกัน ๓ ครั้ง ภายในระยะเวลา ๓ เดือน ให้พนักงานสอบสวน ส่งเรื่องให้กรมการขนส่งทางบกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นเวลา ๑ ปี
๙.หากนักเรียนนักศึกษากระทำผิดตามมาตรการ ๑๐ รสขม. จำนวน ๑๐ ครั้ง ภายในระยะเวลา ๑ ปี ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแจ้งสถานศึกษาต้นสังกัดลงโทษ โดยตัดวงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาลงร้อยละ ๓๐ หรือแจ้งโทษปรับกับผู้ปกครอง เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
๑๐. ให้เจ้าของหอพักหรือผู้ประกอบการหอพัก หรือห้องเช่าที่มีจำนวน ๕ ห้องขึ้นไป ห้ามผู้เช่าที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ดื่มสุราในหอพักหรือห้องเช่า หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
๑๑. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาตั้งอยูในเขตรับผิดชอบ หรือมีจำนวนหอพักหรือห้องเช่าของนักเรียนนักศึกษาเป็นจำนวน ๒๐ แห่งขึ้นไป ดำเนินการจัดตั้งด่านชุมชนตรวจสภาพความพร้อมในการขับขี่ของนักเรียนนักศึกษา โดยปราศจากลักษณะอาการของผู้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำเดือนละ ๑ ครั้ง หากนักเรียนนักศึกษามีลักษณะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ห้ามขับขี่ และนำส่งที่พัก พร้อมกับจัดทำทะเบียนรายชื่อ หากพบว่าว่ามีมีลักษณะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ๓ ครั้ง ภายในระยะเวลา ๓ เดือน ครั้งที่ ๔ ให้นำตัวส่งสถานพยาบาลตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ และดำเนินคดีหรือแจ้งสถานศึกษาต้นสังกัดดำเนินการลงโทษต่อไป