วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การวิเคราะห์ SWOT เห็นบ่อยๆ ที่มั่วกันไปหมดระหว่างจุดแข็งกับโอกาส และระหว่างจุดอ่อนกับภัยคุกคามจากสาธารณภัย แต่รู้สึก….เป็นอย่างมากที่หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง    นำความคาดหว้งของประชาชน ผู้ประสบภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นภัยคุกคาม


มันจะต้องมองเป็นโอกาส เนื่องจากมีพลวัตมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเครือข่ายกับผู้รับบริการ  ภัยคุกคามเน้นมองที่ตัวเองว่าทำอะไรอยู่ จะแพ้จะชนะอะไรด้วยการปฏิบัติงานที่เป็นอยู่ ถ้าคนอื่นีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวถือเป็นโอกาสที่จะเข้าไปบูรณาการเข้าไปมีส่วนร่วม จากการที่มองแบบปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่เลวร้าย ทำให้ต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองด้วยการตั้งรับมีคนมีทรัพยากรเยอะๆ มีระบบปฏิบัติงานที่ฉับไวเอาไว้รอปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน

ซึ่งแผนงานโครงการส่วนใหญ่ของหน่วยงานที่วิเคราะห์ SWOT ดังกล่าว จะไม่ได้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 ที่นำแนวคิด การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย และการฟื้นฟูที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม มาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน แต่มีการจัดทำแผนงานโครงการส่วนใหญ่เพื่อรองรับการจัดการในภาวะฉุกเฉิน  ไม่พบแผนงานโครงการฟื้นฟูที่ดีกว่า และปลอดภัยกว่าเดิม พบแผนงานโครงการการจัดการความเสี่ยงอยู่บ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย

สรุปว่า แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 คงดำเนินไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ เพราะหน่วยงานหลักยังดำเนินการได้แค่ยุทธศาสตร์เดียว

หมายเหตุ

ยุทธศาสตร์ ตามแผน ปภ.ฯ  แห่งชาติ พ.ศ.2558 มี 4 ยุทธศาสตร์ คือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการการจัดการในภาวะฉุกเฉิน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย

 

———————————————88888———————————–