วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

อุปสรรคของการจัดการภัยพิบัติในเมืองไทย ที่เกิดจากภาคสังคมการเมือง  มี 4 ประเด็น คือ

ประเด็นแรก สังคมไทยขาดการรวมพลังสร้างโอกาสและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งสังคม ประชากรวัยทำงานติดกรอบ ติดกับดัก ยอมสยบต่ออำนาจนิยม

ภาพที่เกิดขึ้นกับการจัดการภัยพิบัติในสังคม คือ แก้ปัญหาแบบลิงแก้แห พัวพันกันวุ่นวาย โดยวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมทางสังคมทั้งด้านการเศรฐกิจ การเมืองดำเนินไปอย่างไม่สอดคล้องกันในการป้องกันสาธารณภัย  กิจกรรมหนึ่งสร้างผลกระทบให้กับกิจกรรมหนึ่ง

ประเด็นที่ 2 ขาดการรวมพลังลดช่องว่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากไร้หดแคบลง เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับสภาพที่เป็นจริง

ภาพที่เกิดขึ้นกับการจัดการภัยพิบัติในสังคม คือ การจัดการเน้นการปฏิบัติงานไปที่บุคคล ทำให้ไม่มีความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา แทนที่จะมุ่งเน้นพื้นที่กายภาพ ทำให้เกิดการสถาปนาสังคมโปรยทาน ให้คุณค่าความดีของบุคคลในช่วงเกิดวิกฤตสาธารณภัยเท่านั้น

ประเด็นที่ 3 ขาดสำนึกว่ามีชะตากรรมร่วมกัน   การอยู่ร่วมกัน  ต้องสร้างความรู้สึกอันเป็นบุญกุศลไปในทางเดียวกันให้ได้ก่อน ไม่งั้นช่องว่างระหว่างคนจะเป็นอุปสรรคให้เจรจาไม่รู้เรื่องกัน

ภาพที่เกิดขึ้นกับการจัดการภัยพิบัติในสังคม คือ  การต่อต้านแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ หากเห็นว่าตัวเองเสียเปรียบ/เสียประโยชน์

และประเด็นที่ 4 หลงภาพมายาคติ ดังนี้

4.1. ความเอื้ออาทร ความเป็นพี่น้อง ความเป็นสังคม “ภราดรภาพ” ของเพื่อนมนุษย์

กลายเป็นเรื่องผลประโยชน์ระหว่าง “เจ้านายกับข้าไพร่”(การใช้จ่ายเพื่อประโยชน์สุขของราษฎรไม่มีในเกือบทุกประเทศ ถือว่าหน้าที่นี้ไม่ได้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล รัฐบาลมีหน้าที่แต่รักษาประเทศการรักษาความสุขเป็นหน้าที่ของราษฎรเอง) ระบอบอุปถัมภ์ แต่อุปถัมภ์เฉพาะกลุ่มคนที่ให้ประโยชน์กับชนชั้น (สมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้อพยพต่างชาติมีโอกาสสร้างฐานะความร่ำรวย ในขณะที่ข้าไพร่ คนในชาติ ถูกผูกพันด้วยระบบเกณฑ์แรงงาน คนต่างชาติได้เข้าทำการค้าแทนคนในชาติ และกลายเป็นชนกลุ่มใหม่ที่ทำธุรกิจร่วมกับชนชั้นปกครอง[9]), เกิดอุดมคติที่เป็นการทำลายอิสรภาพ – ความเสมอภาคในสังคม ยึดถือคติการเป็น “เจ้าคนนายคน”, ความเชื่อมั่นในความเป็นปัจเจกชนถูกละทิ้ง ไม่มีจินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ไม่มีการปรับตัว – หวังพึ่งพิงจากรัฐบาล ไม่มีความคิดในการพึ่งพาตนเอง. ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อสร้าง “รัฐที่อยู่ภายใต้การควบคุม” https://prachatai.com/journal/2009/12/27068

4.2. พยายามวิ่งเข้าหาระบบอุปถัมถ์โดยเขาไม่เห็นค่าอะไร

ะบบอุปถัมภ์ของจริง ่อุปถัมภ์เฉพาะกลุ่มคนที่ให้ประโยชน์กับชนชั้น(เป็นอย่างนี้ตั้งแต่อดีตคือสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้อพยพต่างชาติมีโอกาสสร้างฐานะความร่ำรวย ในขณะที่ข้าไพร่ คนในชาติ ถูกผูกพันด้วยระบบเกณฑ์แรงงาน คนต่างชาติได้เข้าทำการค้าแทนคนในชาติ และกลายเป็นชนกลุ่มใหม่ที่ทำธุรกิจร่วมกับชนชั้นปกครอง)

4.3. เกิดอุดมคติที่เป็นการทำลายอิสรภาพ ทำลายความเสมอภาคในสังคม http://department.utcc.ac.th/library/onlinethesis/257686.pdf

4.4. ยึดถือคติการเป็น “เจ้าคนนายคน”

4.5. ความเชื่อมั่นในความเป็นปัจเจกชนถูกละทิ้ง ไม่มีจินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ไม่มีการปรับตัว หวังพึ่งพิงจากรัฐบาล ไม่มีความคิดในการพึ่งพาตนเอง https://prachatai.com/journal/2009/12/27068

4.6. มายาคติเรื่องบุญกรรม

“ผู้มีอำนาจ มีชีวิตที่สุขสบาย เป็นเพราะ คนเหล่านั้นได้ทำบุญกุศลมาก่อนในอดีตชาติ ส่วนผู้คนที่อดอยากยากไร้ เป็นเพราะบุคคลเหล่านั้นทำความชั่วหรือทำบุญกุศลไม่เพียงพอในอดีตชาติ ดังนั้นบุคคลที่มีสถานะสูงสุดในสังคม ก็คือ บุคคลที่เคยสร้างบุญกุศล และสร้างคุณงามความดีมากที่สุดในอดีตชาตินั่นเอง”

ภาพที่เกิดขึ้นกับการจัดการภัยพิบัติในสังคม

—————&&&&&&&&&&&&&&—————-——