วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

หากมองในเชิงพื้นที่แล้ว ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันปรากฏให้เห็นชัดเจน ใน 2 ลักษณะ คือ

1.การให้เงินอุดหนุนระบบขนส่งบริการสาธารณะ


ไม่มีการกระจายเฉลี่ยทั้งเม็ดเงินและแผนงานโครงการให้เท่าเทียมกันทุกพื้นที่

1.1 ด้านระบบราง ให้การคำ้ประกันเงินกู้แก่ รฟท. แต่ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับคิดตามพื้นที่แล้วถือว่าพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ เพียง 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ

1.2 ด้านระบบขนส่งบริการสาธารณะทางถนน

1) ในพื้นที่เขตเมือง รัฐให้การอุดหนุนเฉพาะแก่ ขสมก. ในพื้นที่กรุงเทพมหานครจังหวัดเดียว

2) ในพื้นที่ชนบท รัฐให้การอุดหนุน  บขส. วึ่งมีพื้นที่ให้บริการเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่รัฐไม่มีเงินอุดหนุนให้มีระบบขนส่งสาธาารณะที่ทั่ถึงเพียงพอ

1.3  ด้านระบบเดินอากาศ เนื่องจากต้องใช้เม็ดเงินในการอุดหนุนสูง อาจจะไม่เป็นธรรมหากจะต้องมีการอุดหนุนมีการบริการมากขึ้นในเชิงพื้นที่

2.ความไม่เท่าเทียมกันในการใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่

2.1 ในระบบรางและระบบเดินอากาศ ในเชิงพื้นที่การใช้ประโยชน์มีความเท่าเทียมกันในระดับหนึ่ง

2.2 ในระบบขนส่งบริการสาธารระทางถนน มีความไม่เท่าเทียมกันในพื้นที่ชนบทเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากพื้นที่ของถนนทุกส่วนเน้นให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้รถยนต์เป็นหลัก  ละเลยการให้ความสำคัญกับผู้ที่อาศัยอยู่ริมเส้นทาง ทำให้ประชาชนผู้มีวิถึึชีวิตอยู่ริมเส้นทางมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากรถยนตืสูงยิ่ง ทั่้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ได้ดำเนินการออกแบบให้มีความเท่าเทียมกันให้มากขึ้น เช่น การยกระดับถนนที่ผ่านชุมชนให้สูงและมีท่อลอดในการสัญจรผ่านเส้นทาง หรือการเพิ่มสิ่งกระตุ้นให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น เป็นต้น

ข้อสรุป

รัฐควรให้เงินอุดหนุนระบบขนส่งบริการสาธารณะที่กระจายให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีประชาชนมีวิถีชีวิตที่ต้องเดินทางเป็นประจำให้มากขึ้น  และให้ความสะดวกสบายในการใช้พื้นที่ถนนแก่คนที่อาศัยอยู่รอบๆเส้นททางให้มากขึ้น

————–&&&&&&&&—————