วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การป้องกันภัยพิบัติ จำเป็นต้องนำแนวคิดทางสังคมวิทยามาใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินมาตรการต่างๆให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือทิศทางเดียวกันในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (disaster risk)

ในประเทศไทยยังไม่มีมาตรการส่งเสริมการลดความเสี่ยงที่เป็นรูปธรรม  มีเพียงการบรรเทาภัยพิบัติที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม  แม้ในระดับกรอบนโยบายได้มีการประชุมเรื่องการป้องกันภัยพิบัติกันอย่างจริงจัง กล่าวคือ

1.ข้อตกลงกรอบการดำเนินงานเฮียวโกะ มีระยะเวลาดำ เนินการ 10 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2548–2558

2.การประชุม Rio+20 หรือการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 20–22 มิถุนายน พ.ศ. 2555  โดยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งที่จะต้องบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย แผนงาน และโครงการพัฒนาในทุกระดับ

3.การประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชียว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครั้งที่ 6 (The 6th Asian Ministerial Conference on Disaster Risk Reduction: AMCDRR6) การประชุมระบุมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในแผนพัฒนาของทุกภาคส่วน ตลอดจนเสริมสร้างขีดความสามารถของสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนา เพื่อวิเคราะห์ และใช้ข้อมูลความเสี่ยงในการวางแผน และนำ ไปปฏิบัติให้เกิดผล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง

การนำแนวคิดทางสังคมวิทยามาใช้วิพากษ์การลดความเสี่ยง แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นคือ

1.การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง

2.การควบคุมพลเมือง

3.รูปแบบวิถีชีวิต

การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง

มาตรการที่ภาครัฐดำเนินการยังเป็นการเตรียมพร้อมที่จะบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดให้ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว แม้จะมีการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมแต่เป้าประสงค์หลักเพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการบรรทาภัยพิบัติของภาครัฐ (ทำแบบมวยวัดและเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นจริงศักยภาพก็กระจอกงอกง่อย)

การควบคุมพลเมือง

การใช้อำนาจของรัฐในการควบคุมประชาชน ยังไม่มีวิธีการที่ราบรื่นไปสู่เป้าหมายได้ ด้วยภาครัฐไม่รู้จักวิธีการที่จะควบคุมที่แนบเนียน

รูปแบบวิถีชีวิต

การดำเนินวิถีชีวิตของพลเมืองไม่ได้ถูกแนะนำหรือมีกรอบกำหนดที่ชัดเจนเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การดำเนินวิถีชีวิตอยู่ภายใต้อิทธิพลของเศรษฐศาสตร์การเมือง และอยู่ภายใต้การควบคุมของทุนผู้กขาดอำนาจรัฐ

——————————————————55555555555—————————————————–—–