เป็นหน้าที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนที่จะต้องมีการตระเตรียมความพร้อมกับการเผชิญภัยพิบัติตลอดเวลา เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในเบื้องต้นและมีสมรรถนะในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เช่นนั้นแล้ว เมื่อเกิดภัยพิบัติใด ๆ ขึ้นจะทำให้เกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอันมาก และถ้าไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ไม่มีวิธีการจัดการที่ดีแล้ว อาจจะเกิดความโกลาหลจนถึงขั้นจลาจลขึ้น จนสุดที่ทางภาครัฐจะควบคุมดูแลและจัดการแก้ปัญหาได้
แนวทางในการตระเตรียมก็มีหลากหลายแนวทาง ทั้งการป้องกัน(หนทางหลีกเลี่ยงที่ไม่ต้องต้องเจอ) และการบรรเทา (การขจัดสิ่งที่เป็นต้นเหตุ สิ่งที่เป็นปัญหา) ซึ่งการปฏิบัติการจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม ซึ่งควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิาง 3 ด้าน คือ
1.ความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยน (Commutative Justice / Reciprocal Justice)
เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อสังเกตุ ข้อมูลสถานการณ์ผิดปกติของธรรมชาติ ถ้าบกพร่องไปถือได้ว่าขาดความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ บนความถูกต้องและเท่าเทียมกัน
2. ความยุติธรรมในการแบ่งปัน (Distributive Justice)
การช่วยเหลือและแบ่งปันทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง วิทยาการต่างๆ แก่ภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม โดยมีหลักคิดว่าทุกคน ต้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และมีโอกาสเข้าถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคม อย่างเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมในการแบ่งปันนี้ มีพื้นฐานความคิดมาจากเรื่องความดีของส่วนรวมหรือคุณประโยชน์ของส่วนรวม (Common Good) และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นความรับผิดชอบของผู้ที่มีมากกว่าต่อผู้ที่มีน้อยกว่า
3. ความยุติธรรมในทางกฎหมาย (Legal Justice)
ภายใต้ปฏิบัติการต้องดำรงความสัมพันธ์ที่ถูกต้องของบุคคล ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคลต่างๆ ในทุกภาคส่วนของสังคม
————————————777777777777777——————————————