วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

Thailand 4.0 เป็นการพัฒนาเปลี่ยนแปลงใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ วิธีการถือเป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อน ด้วยการเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ ไม่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอ เป็นแรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและการเปลี่ยนแปลงสุดท้ายคือ การบริการ ต้องมีการนำเรื่องของมาตรฐานเข้ามา เพื่อให้กลายเป็น High Value Services ต้องมีการรับรอง มีการตรวจสอบเพื่อให้มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ

สำหรับการจัดการสาธารณภัยที่หน่วยงานกลางในการจัดการได้กำหนดแนวทางเพื่อส่งเสริมให้การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมรุดหน้าไม่สะดุดหรือถดถอยเนื่องจากสาธารณภัย ตามแผนภาพ ดังนี้

หากมีการดำเนินงานอย่างจริงจัง คาดว่าจะทำให้ประเทศไทยมรกลไกการจัดการสาธาณณภัยที่เป็นระบบตามมารฐานสากล (เขาจะอนุญาตให้ไปช่วยเหลือเขาได้ในกรณีสาธารณภัยขนาดใหญ่) และส่งเสริมการพัฒนาประเทศ

แต่คงอีกนานกว่าจะมั่นใจว่าประเทศไทย มั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน เพราเรื่องระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการบริหารจัดการสาธารณภัย เป็นการนำข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) มาบูรณาการอย่างเป็นระบบ พร้อมวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ภัย เพื่อจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย (Risk Map) และแผนที่สาธารณภัย (Multi-Hazard Map) ที่สามารถระบุพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่ประสบภัยได้อย่างแม่นยำ รวมถึงเป็นข้อมูล ในการเตรียมพร้อม รับมือ และสนับสนุนให้ผู้บริหารใช้ประกอบการอำนวยการ สั่งการ แก้ไขปัญหาสาธารณภัยได้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยในแต่ละพื้นที่ยังคงอีกหลายปีกว่าจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อาจรอจนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สิ้นสุดลง

 

——————————————————————–