วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การรู้ทันธรรมชาติเป็นการรู้ทันภัยพิบัติ

การรู้ทันธรรมชาติ  จะเป็นการรู้ทันภัยพิบัติ โดยมีลักษณะ หรือแนวทางที่เข้าข่ายรู้ทันธรรมชาติเป็นการรู้ทันภัยพิบัติ ดังนี้

1.จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันสม่ำเสมอในกลุ่มประชาชนเพื่อให้รู้ทันธรรมชาติและอยู่กับธรรมชาติให้ได้

2. ต้องเปลี่ยนนิสัยที่เราฟังแต่ “ผู้รู้” และเมื่อ “ผู้รู้” คาดการณ์ผิด ก็ไม่เชื่ออีกต่อไป  แต่ไม่สนใจศึกษาหาความจริง

3. ต้องปรับเปลี่ยนถิ่นที่อยู่อาศัยให้สอดคล้อง/พร้อมรับกับภัยพิบัติ

4. การรวมกลุ่มตามธรรมชาติ เช่น ในหมู่บ้าน  ญาติพี่น้อง เพราะส่วนใหญ่จะมีความสบายใจมากกว่าที่จะอยู่ในพื้นที่ที่ตนเองคุ้นเคย ผู้คนที่คุ้นเคย และมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ประสบภัยที่รวมกลุ่มในลักษณะนี้จะสามารถจัดการกับตนเอง ญาติพี่น้องเมื่อต้องเผชิญปัญหาภัยพิบัติมีประสิทธิภาพมากกว่าการรวมกลุ่มแบบอื่น

5. สำรวจความต้องการความช่วยเหลือในยามเกิดภัยพิบัติ หลังจากนั้นควรมีการจัดสรรสิ่งที่มีอยู่ ให้เพียงพอกับความต้องการ   ว่าเรามีอะไร  ขาดอะไร  ต้องการอะไร   และต้องมีการจัดสรรหน้าที่

6. การสื่อสารระหว่างภายใน / ภายนอก การขอความช่วยเหลือ  ว่าเรายังขาดความช่วยเหลือด้านใด   เรายังขาดนม  ขาด pampers   ฯ  การระดมความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก  เราอาจมีที่ One stop service  โดยเป็นการจัดตั้งของเราเองไม่ขึ้นกับเขตปกครอง(หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน มูลนิธิ)  โดยศูนย์นี้จะรวมเอาทุกการช่วยเหลือที่จำเป็นของคนในชุมชนมารวมไว้และดำเนินการบริหารจัดการสำหรับภายในชุมชน จะสามารถบรรเทาปัญหาของผู้ประสบภัยได้ดีขึ้น

7. มีการจัดลำดับกลุ่มที่มีความต้องการความช่วยเหลือ คือ  เราจะทำอย่างไรให้ผู้ประสบภัยจะสามารถจัดการกับตนเองได้เมื่อต้องเผญิชปัญหา  เพราะบางคนมีความสบายใจมากกว่าที่จะอยู่ในพื้นที่ที่ตนเองคุ้นเคย  ผู้คนที่คุ้นเคย

8. การจัดตั้งครัวชุมชน จะเป็นอีกทางออกหนึ่งที่จะทำให้ผู้ประสบภัยได้รับอาหารที่สามารถบริโภคได้และรับรสชาติที่ทำให้เกิดความอิ่มเอมทางใจ   ซึ่งสามารถบรรเทาความตึงเครียดที่เกิดขึ้น

9. ควรมีการแจ้งสิทธิให้คนในชุมชนรู้ การเตรียมพร้อมและการกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างเที่ยงตรงและชัดเจน จะทำให้เราสามารถจัดการดูแลชีวิตและทรัพย์สินของตนเองได้ดีขึ้น

10. รัฐควรหาแหล่งทุนให้กับประชาชน การบริหารจัดการของชุมชนที่ดี  จะทำให้ผู้ประสบภัยที่อยู่ในชุมชนต่างได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงกับความต้องการที่แท้จริง

ทางออกที่เหมาะสมในอนาคต (ไม่ควรมุ่งหาทางออกแบบ “one best way” หรือ “ต้นแบบที่ดีที่สุด” (photo type หรือ “model” เพราะการจัดการที่ดีที่สุดที่ใช้ได้กับทุกๆ ที่ไม่มีในโลก  แต่ต้นแบบที่เหมาะสมในบริบทของปัญหาและสภาพแวดล้อมทั้งเชิงกายภาพและเชิงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ-เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง-วัฒนธรรม และมิติหญิงชาย ฯลฯ ต่างหากที่จะเป็น “ต้นแบบที่เหมาะสม” เพื่อนำไปปรับใช้ได้

xxxxxxxxxx

Search