วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยตัวเลขอัตราการเสียชีวิต 36.2 ต่อประชากร 100,000 คน เป็นรองเพียงประเทศลิเบีย ที่มีอัตราการเสียชีวิต 73.4 ต่อประชากร 100,000 คน

แนวโน้มอุบัติเหตุ

คาดการณ์ว่าประเทศไทยอาจวิกฤตและขยับอันดับขึ้นมาในอนาคต ขณะที่การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในเทศกาลต่าง ๆ เกินกว่า 50% เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ทำงานขับเคลื่อนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ

ตั้งแต่ปี 2554-2558 จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ  จาก 23,390 คน มาอยู่ที่ 19,479 คน แต่สถานการณ์ในปี 2559 ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นไปที่ 22,356 คน เพิ่มขึ้นเกือบ 3,000 คน ใกล้เคียงกับข้อมูลขององค์การอนามัยโลก นอกจากนี้ ยังไม่นับรวมตัวเลขของคนเจ็บและคนพิการอีกนับล้านคน โดยพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุและมีการตายมากที่สุดคือภาคตะวันออก

พื้นที่ที่มักเกิดอุบัติเหตุ

โอกาสการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนขึ้นอยู่กับจังหวัดที่อยู่อาศัย เมื่อเปรียบเทียบด้านจำนวนรถจดทะเบียน จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตต่ำที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ยะลา สตูล สุโขทัย เชียงใหม่ น่าน ระนอง อำนาจเจริญ พิจิตร และ 10 อันดับที่เสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ ระยอง สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี

กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหา

ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 39% คนเดินเท้า 5% และคนขี่จักรยาน 1%

ต้นสายปลายเหตุ

เนื่องจากคนไทยมีจิดใต้สำนึกที่ชอบชี้นิ้วใส่คนอื่นให้เป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ใส่ร้ายป้ายสี ที่หล่อหลอมมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยสมัยอยุธยา(สันดานทาส)  ทำให้จิตสำนึกที่จะให้ตนเองขับขี่อย่างปลอดภัยไม่ได้ผุดขึ้นมาในพฤตกรรมการขับขี่

 

 

0000000000000000000000000