ลักษณะที่แสดงถึงความล้าหลังของสังคม อันจะส่งผลสะสมให้เกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ ได้แก่
1. กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองโดยใช่ที่
ทั้งๆ ที่ทรัพยากรเหล่านั้นควรใช้ไปในการที่จะเป็นประโยชน์กับสังคมในทางอื่น โดยเฉพาะการช่วยเหลือคนยากจนหรือผู้ยากไร้ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น หรือควรจะช่วยลดช่วยบรรเทาประทังองคาพยพของสิ่งแวดล้อมทั้งหลายให้ทนยืนสู้กับการรีดผลาญเอาประโยชน์ของมนุษย์ให้ทอดยาวมากขึ้น หรือช่วยแบ่งรับความผันแปรของอุณหภูมิโลก ลดความผันแปรของวัฏจักรน้ำให้รุนแรงน้อยลง
2. ชอบมองย้อนหลังไปในอดีต
แล้วเอาสิ่งในอดีตมาเป็นผู้ฟื้นฟู ไม่ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ไม่ยอมปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้นไม่เหมาะสมกับกาลเวลา ทั้งๆ ที่ควรมุ่งเน้นในลักษณะที่เป็นผลผลิตเป็นนวัตกรรม กลับติดกับดักของปัจจัยต่างๆ ดังนี้
2.1 ความเคยชินหรือคุ้นเคย คุณจะรู้สึกคุ้นเคยกับสถานการณ์หรือสิ่งที่พบเจอเป็นประจำ ทำให้ไม่พร้อมและไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
2.2 ไม่กล้าตัดสินใจที่จะทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ไม่พร้อมที่จะแก้ไขปัญหา เหตุเพราะกลัวความผิดพลาดจากการตัดสินใจที่จะเกิดขึ้น
2.3 ปิดกลั้นการเพิ่มมูลค่า ( Value)ในการทำงาน พัฒนาความรู้ ทักษะ และความชำนาญเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะกี่ปีก็ตามคุณก็ยังมีความสามารถเหมือนเดิม ไม่เคยเปลี่ยน
3. ค่านิยมทางวัฒนธรรมที่สะสมความไร้ค่าความไม่ดีงามกันมานาน
อันได้แก่ ความเห็นแก่ตัว การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเหี้ยมโหด การธำรงไว้ซึ่งความแตกแต่างระหว่างความร่ำรวยและความยากจน การครอบงำระบบของสังคมเพื่อเสวยประโยชน์เแพาะตนเฉพาะกลุ่ม การชอบโอ้อวด และความมักง่าย ที่ชื่นชอบกับการแก้ไขอะไรๆ เฉพาะหน้า
—————5555555—————–