จุดหมายที่ต้องการให้ทุกชีวิตปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งเป็นจุดหมายทั้งของประชาชน ภาคธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง จะเห็นว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ดังนี้
1.กลไกการดำเนินงานต้องค้นหาและคว้าโอกาสที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รถใช้ถนน บนพื้นฐานว่าไม่มีใครต้องการบาดเจ็บเสียชีวิตหรือสูญเสียทรัพย์สิน
- ในแต่ละพื้นที่ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องการอะไร และพวกเขาได้อะไรจากหน่วยงานภาครัฐ(โง่ๆ)
- เครื่องมือเครื่องใช้หรือเทคโนโลยีใดในปัจจุบัน(สำรวจบ่อยๆ ด้วยนะคับ)ซึ่งจะก่อให้กเกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐเมื่อนำมาใช้
- สำรวจประเมินบทบาทการตอบสนองความต้องการว่าต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านใด
- กำหนดสิ่งที่จะต้องทำต่อไป
2.จัดทำแผนอำนวยการตามช่องโอกาสในปัจจุบัน บนกรอบแนวคิด ดังนี้
- การให้สิ่งที่จะเพิ่มหรือลดแรงจูงใจ การจูงใจให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวกบนท้องถนน
- การกำหนดช่องทางการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม
- การสร้างเอกลักษณ์หรือจุดศูนย์รวมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
- อำนวยการสร้าง 1)ทีมสื่อสารเชิงกลยุทธ์ 2)หุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์
3.การควบคุมติดตามประเมินผล
- รวบรวมข้อมูล ข้อเสนอแนะและความคิดเห็น (เอาให้เห็นทั้งป่า(ด้วยกระบวนการสืบสวน) ไม่ใช่นั่งรวบรวมเฉพาะลักษณะต้นไม้ (นั่งขูดนั่งเกลานั่งเพ่งต้นไม้นั่งถกเถึยงถึงคุณลักษณะต้นไม้ บุคลากรภาครัฐขนาดชี้ให้ดูที่เชิงระบบหรือให้ดูทั้งป่า ก็ยังมองไม่ออก โยนสมองไปที่ต้นไม้อยู่ท่าเดียว มันประมาท มันไม่มีจิตสำนึก มันไม่มีความรู้))
- การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
- การสื่อสารรูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานที่ดี
ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ยังไม่ได้มีในแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน ไม่ว่าจะเป็นห้วง พ.ศ.ใด หรือแม้แต่แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2561-2564