ความล้มเหลวด้านการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ มีพื้นฐานจากความเชื่อที่ขัดขวางการดำเนินงานเพื่อกระจายความเสี่ยงหรือความพยายามลดความเสี่ยง ซึ่งทำให้ยากที่จะเอาชนะแรงกระตุ้นตามความเชื่อผิดๆๆ เหล่้านั้นได้ ซึ่งพอจะสรุป/อธิบายถึงความเชื่อผิดๆ จำนวน 4 ความเชื่อ ดังนี้
1.ความเชื่อที่ 1 ความเสี่ยงทุกประเภทเกิดขึ้นแบบสุ่ม
เนื่องด้วยแต่ละภาคส่วนมีจุดยืนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน จึงทำให้เราไม่มีความรู้ความเข้าใจในความเสี่ยงอย่างชัดเจนเพียงพอที่จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ความเชื่อที่ 2 ความเสี่ยงไม่สามารถเอาชนะอย่างเด็ดขาดได้
หากเราใช้ระบบคะแนนวัดความฉลาดรู้ในความเสี่ยง (Risk IQ) เราจะสามารถประเมินได้ดีและจัดการความเสี่ยงนั้นให้ประสบผลสำเร็จได้
3.ความเชื่อที่ 3 ความเสี่ยงพัฒนาไปอย่างไม่มีแบบแผน
ความเสี่ยงนั้นสามารถดำเนินการให้มีแบบแผนเสมือนหนึ่งเป็นนวัตกรรม เป็นงานอดิเรก เป็นโครงการ เป็นการประกอบธุรกิจ เป็นงานบริการ เป็นกิจกรรมหลังเลิกเรียน ซึ่งล้วนมีวงจรชีวิตอยู่ทั้งสิ้น
ขั้นที่หนึ่งของวงจรชีวิตความเสี่ยงภัยพิบัติ
การดำเนินงานเสริมสร้างความฉลาดรู้ในความเสี่ยงหลักๆ หรือในลำดับต้นๆ ก่อนเพราะจะสามารถยกระดับข้อมูลความรู้เรื่องความเสี่ยงภัยพิบัติได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ความเสี่ยงแต่ละภัยที่เหลืออยู่ได้กระจายความเสี่ยงลงไปจากการดำเนินการกับภัยหลักๆ
ขั้นที่สองของวงจรชีวิตความเสี่ยงภัยพิบัติ
กระจายความรู้ ทักษะความเชี่ยวชาญจากพื้นที่หนึ่งสู่พื้นที่หนึ่ง หรือให้มีการแลกเปลี่ยนกันอย่างสมำ่เสมอ (ไม่จำเป็นต้องมานั่งโต๊ะแลกเปลี่ยนกัน ใช้วิธีการอื่นๆที่ดูอำนวยและมีประสิทธิผล)
ขั้นที่สามของวงจรชีวิตความเสี่ยงภัยพิบัติ
การรักษาระดับการดำเนินงานและพัฒนาสมรรถนะหลักอย่างต่อเนื่อง
4.ความเชื่อที่ 4 ผลลัพธ์ที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการดำเนินการลดความเสี่ยงหรือกระจ่ายความเสี่ยง
เนื่องจากที่ผ่านมา เราจัดการกับความเสี่ยงภัยพิบัติโโยที่ไม่มีการดำเนินการแบบเครือข่ายมืออาชีพ ดำเนินการเพียงเครือข่ายผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม เครือข่ายแต่ละภาคส่วนไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงและไม่มีการส่งผ่านความไวเหล่านั้นในเครือข่าย ไม่มีการใช้เครื่องมือ “ความเสี่ยง-บทบาท” (Risk-Role Matrix)ื ซึี่งแสดงภาพรวมของทุกบทบาทที่จะต้องดำเนินการกระจายความเสี่ยงหรือลดความเสี่ยง
——————————–5555555555555—————————————