ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อบังคับให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในวันหน้าต้องเดินไปในทิศทาง ที่กำหนดไว้เป็นระยะเวลาถึง 20 ปี ซึ่งอนาคตของประเทศจะอยู่ในความควบคุมของนักการเมืองในเครื่องแบบพร้อมกับ การออกแบบอนาคตโดย “รัฐราชการ” รายละเอียดแนวทางปฏิบัติจะถูกผลิตจากข้าราชการในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
จนอาจกล่าวได้ว่า ยุทธศาสตร์นี้คือผลผลิตของความเป็น “การเมืองแบบราชการ” (bureaucratic polity) เงื่อนไขเช่นนี้ทาให้การกำเนิดและอำนาจในการควบคุมนโยบายของรัฐโดยราชการ เป็นปัจจัยสาคัญที่ทำให้กลุ่มราชการทั้งทหาร และพลเรือนสามารถดึงเอาทรัพยากรจากสังคมมาเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่มได้โดยง่าย และขณะเดียวกันก็มีอำนาจในการควบคุมสังคม พร้อมกับการมีความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมของตนที่สังคมไม่อาจควบคุมได้ ทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์หลักแต่เพียงประการเดียว ก็คือ การดำรงสถานะแห่งอำนาจและรักษาผลประโยชน์ของข้าราชการในระดับสูงที่อยู่ในวงจรแห่งอำนาจ และสังคมจะไม่มีพลังอำนาจเพียงพอในการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความล้าหลัง การไม่มีธรรมาภิบาล ความไม่โปร่งใส การเล่นพรรคเล่นพวก การแบ่งกลุ่มและความแตกแยก การแสวงหาประโยชน์ การคอร์รัปชั่น การซื้อตาแหน่ง ตลอดจนถึงความเฉื่อยชาในการทางานของรัฐราชการ
จากสภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงมีแนวโน้มที่การทุจริตเชิงนโยบายจะแผ่ขยายเข้าสู่ระบบราชการมากขึ้น จากเดิมที่การทุจริตเชิงนโยบายโดยผ่านมติคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบาย โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ขนาดใหญ่ของรัฐ ที่เป็นการโกงจากระดับบนลงไประดับล่าง แต่รูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นแบบใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจะเป็นนโยบาย โครงการ ที่ทุ่มเงินลงไปข้างล่าง แล้วระดับล่างจึงมีการทุจริตกัน จากนั้นจึงส่งส่วยกลับมาที่ข้างบน ซึ่งทำให้ยากต่อการตรวจสอบ เพราะข้อมูลและเอกสารต่างๆ จะมีปริมาณมากและกระจายอยู่ในระดับล่าง ดังเช่นที่ปรากฏในห้วงระยะที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ประชากรกลุ่มเปราะบางหมายถึง กลุ่มประชากรที่มีความอ่อนแอมีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะถูกชักจูง ครอบงำ และคุกคามจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น วงจรชีวิต สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ หรือเป็นกลุ่มประชากรที่ภายหลังจากประสบเหตุการณ์แล้วไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้ถูกกลุ่มบุคคลในภาคการเมืองแบบราชการดำเนินนโยบายให้ความช่วยเหลือในลักษณะการทุจริตเชิงนโยบาย เช่น การดาเนินการขุดลอกแหล่งน้าสาธารณะขององค์การทหารผ่านศึก การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ การอมเบี้ยชราภาพผู้ประกันตน การโกงเงินกองทุนการศึกษาเพื่อช่วยเด็กที่เป็นเหยื่อขบวนการค้ากาม การโกงเงินคนจนและผู้ป่วยเอดส์ การโกงเงินเพื่อช่วยคนไร้ที่พึ่ง การโกงเงินเพื่อช่วยไม่ให้เด็กขายตัว ในบางกรณีผู้โกงทาพฤติกรรมเดิมซ้าซากเป็นเวลา 10 ปี
อีกทั้ง มีผู้ร่วมโกงเป็นเครือข่ายและมีพฤติกรรมคล้ายๆ กันทั้งประเทศอย่างกว้างขวาง สภาพการณ์เช่นนี้ เพื่อให้ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรศึกษาปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายจากยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อประชากรกลุ่มผู้เปราะบาง และวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้ระเบียบกฏเกณฑ์ของทางราชการและมาตรการทางกฎหมายในปัจจุบัน รวมทั้ง นาเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่จะนำไปใช้บังคับอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมาตรการเสริมอื่นๆ ทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องแก่การทุจริต
———————————————————