ความเสี่ยงภัยพิบัติ เกี่ยวพันใกลชิดกับการเมือง เมื่อการเมืองประเทศไทย เป็นการเมืองแบบ “ไทย-ไทย” ที่ท่านผูัมีวิชาความรู้ไม่เคารพการเลือกตั้ง ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้ไปเรียนเมืองนอกเมืองนามาก็ไม่เว้น ชวนให้มโนว่าท่านไปเรียนอย่างไรถึงไม่ได้ซึมซับวัฒนธรรมการเมืองรอบๆ ตัว ประเทศจึงเต็มไปด้วยคนที่ไม่ยอมให้อะไรพัฒนาไปได้หากไม่เข้าหู ฯพณฯ ท่าน
การเมืองลักษณะดังกล่าว ก่อให้เกิดกลุ่มผู้เคราะห์ร้ายทางคุณภาพชีวิตนานัประการ รวมทั้งภัยพิบัติหรือสาธารณภัย กลุ่มผู้เคราะห์ร้ายอยู่ภายใต้ความเชื่อว่าระเบียบการปกครองที่เกิดขึ้นจากคนส่วนใหญ่ในสังคมจะช่วยให้พวกเราอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่อนิจจา..การจะสร้างสังคมที่แข็งแรงจากความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์นั้นนอกจากอาศัยการใช้กฎหมายและกำลังแล้ว กลุ่มชนชั้นปกครองส่วนใหญ่ต้องมีความเชื่อที่แท้จริงต่อระบบด้วย
แนวทางในการสร้างกรอบความเชื่อใหม่ ที่จะคุณภาพชีวิตไร้ความเสี่ยงภัยพิบัติ ประกอบด้วย
1.ทบทวนกิจวัตรประจำวันว่ามีส่วนใดตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเชื่อเฉพาะกลุ่มคน หรือความเชื่อภายนอกชุมชนของตนเอง เช่นแนวคิดการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน ที่เข้ามาสร้างฐานการใช้อำนาจของภาครัฐในชุมชน แต่ไม่นำพาต่อความเสี่ยงที่ก่อตัวจะเข้าโจมตีชุมชน มืดบอดต่อความเสี่ยงที่จะเข้าโจมตี
2.ต้องสามารถสร้างผัสสะที่รวดเร็วต่อความเสี่ยงที่จะเข้าโจมตี อันทำให้สร้าง “สัญชาตญาณ” ชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นใหม่นี้ หลอมรวมเข้ากับชีวิตประจำวัน
3.สร้างการแลกเปลี่ยนที่สร้างความ “เชื่อใจ”จนสามารถพัฒนาก่อเกิดภาวะเสพติดการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ปลอดภัยหรือไร้ความเสี่ยง
4.สร้างปรากฏการณ์ไร้ความเสี่ยงให้มีพลังอำนาจที่มีอิทธิพลต่อการหลอมรวมกันของมนุษยชาติพร้อมๆ กับการสร้างเสถียรภาพทางการปกครองผ่านความเชื่อที่ว่า “กฎเกณฑ์ทางสังคมนั้นถือกำเนิดขึ้นเพื่ีอความไร้ความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์”
00000000000000000000000000000000000