วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การละลายสันดานที่ก่อให้เกิดหายนะบนท้องถนนไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เนื่องจากปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ 2 ประการเท่านั้น กล่าวคือ

1. ด้วยความที่มีอารมณ์-ความรู้สึก  เหนือเหตุผล

2. ยึดติดกับความเชื่่อที่เป็นบ่อเกิดหายนะเดิมๆ

อารมณ์-ความรู้สึกอยู่เหนือเหตุผล เมื่ออยู่บนท้องถนน มีหลายสาเหตุหลายๆ ปัจจัย ได้แก่

1.ไม่ไ้ถูกขัดเกลากับสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดหายนะ

การทำใบอนุญาตขับขี่ก็เป็นการทดสอบสมรรถนะเท่านั้น  ไม่ได้ต้องผ่านการรับรู้การขัดเกลาในสถานการณ์จริงๆบนท้องถนน  ควรจะต้องมีการทำระบบทดสอบที่เหมือนเล่นเกมการขับขี่ในสถานการณ์ที่ถอดจากการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน (ไม่ใช่จากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนนะคับ)  ก่อนให้ใบอนุญาต

2.ไม่ได้โฟกัสความสนใจสักแวบหนึ่งใดๆ เลยว่าขณะขับขี่ไปที่จะไม่ทำให้ผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนเดือดร้อนเป็นอันตราย

3. ไม่ได้มีการทบทวนอย่างสมำ่เสมอว่าเราได้เรียนรู้อะไรในการขับขี่หรือใช้รถใช้ถนน (คนที่ไม่ได้ขับ)

ยึดติดกับความเชื่อที่เป็นบ่อเกิดหายนะเดิมๆ หลายๆ ประการ เช่น

1. การกระทำของตนเองก็มีเหตุผลอธิบายได้

ฟังดูน่าจะดีถ้าเชื่อแบบนี้  แต่การใช้รถใช้ถนน ส่วนใหญ่คนที่คิดในลักษณะนี้เมื่ออยู่บนท้องถนน มักจะเกิดอุบัติเหตุ  เพราะมีเหตุผลที่เป็นจริงเป็นจังมากมายที่คุณจะใช้อ้างเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความปลอดภัย   ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนความคิดใหม่หรือเพิ่มแนวคิดใหม่ เมื่ออยู่บนท้องถนนว่า อย่าใช้อารมณ์ให้ใช้ “ความรัก”  เมื่ออยู่บนท้องถนน  ลองดูนะคับพยามยามให้เกิดความรักขึ้นสักแว๊บหนึ่งบ้างเมื่ออยู่บนท้องถนน

2.การติฉินนินทา

เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีไม่มีประโยชน์ไม่ควรพูดกัน  ต้องแอบๆทำกัน   แต่ในเรื่องความปลอดภัยทางถนนต้องเปลี่ยนแนวคิดให้ติฉินนินทากันเยอะๆ

——————666666666666666————————–