เมื่อมีอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้น เราควรต้องมองที่ระบบแทนที่จะมองหาคนผิด (นักแก้ไขปัญหาด้านนี้ของสังคมไทยมองหาคนผิดที่จะต้องบังคับควบคุมพฤติกรรมอย่างรุนแรง) และเราควรจะต้องมองหารูปแบบปกติที่มีความปลอดภัยบนท้องถนน โดยแยกให้เห็นรูปแบบ ๒ รูปแบบ คือ
๑.รูปแบบผู้มีวิถีชีวิตบนท้องถนน
๒.รูปแบบผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จผู้มีวิถีชีวิตบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็น ปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน โครงสร้างสังคม
ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุไม่สำคัญเลยหรืออย่างไร คำตอบคือ ไม่สำคัญเท่าระบบที่แวดล้อมตัวผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือเท่ากับผู้ที่เดินทางโดยไม่ประสบอุบัติเหตุ คนเหล่านี้คือคนที่จะต้องเฉลิมฉลองให้เมื่อตลอดมาเป็นไปด้วยดี แต่น่าเสียดายที่นักแก้ไขปัญหาภาครัฐและมูลนิธิ ภาคเอกชนหรือนักพัฒนาภาครัฐไม่ได้ดำเนินการส่งเสริมยกย่องหรือสนับสนุน อีกทั้งในหลากหลายแนวทางที่พวกเขากระทำกลับมาสร้างความเสี่ยงให้คนที่น่ายกย่องกลับต้องก้าวเข้าสู่หายนะบนท้องถนน (รู้จักประเมินผลกระทบ/ผลจากนโยบายซะบ้าง)
การสนับสนุนยกย่อง ผลที่ได้คือควาปลอดภัยบนท้องถนน
การงมหาคนผิดบนท้องถนน ผลที่ได้คือหายนะบนท้องถนน
การแก้ไขปัญหาจากข้อเท็จจริงของนักแก้ไขปัญหา ไม่ใช่การแก้ไขจากการชี้ไปที่คนทำผิดกฎหมายเป็นหลักสำคัญ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้เราหันเหหรือหยุดการค้นหาคำอธิบายอื่นที่เป็นไปได้ เป็นการขัดขวางริดลอนความสามารถหรือศักยภาพของตนเองหรือของหน่วยงานหรือของสังคมในการร่วมกันแก้ไขปัญหา อันจะนำสู่ข้อสรุปสุดท้ายว่าคุณก็คือตัวปัญหาหนึ่งที่ต้องรีบเร่งแก้ไขพัฒนาตนเอง
————-999999999999—————