วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การดำเนินงานด้านภัยพิบัติ ความสำคัญอันดับแรกคือการบริหารเครือข่าย ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญมากกว่ากว่าประเด็นด้านอื่น การบูรณาการ ประสานความร่วมมือ การแลกเปลี่ยน การสื่อสารข้อมูลสาธารณะและเชื่อมโยงคลังข้อมูลของหน่วยงานองค์กร จะทำให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เอกภาพและความราบรื่น บรรลุเป้าหมายบรรลุผลสัมฤทธิ

 

โดยมโนทัศน์ของสังคมจะให้คุณค่าอย่างสูงในงานป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ หากมีพลวัตด้านเครือข่าย ดังนั้น จึงควรที่จะต้องเข้าใจหลักของการบริหารงานเครือข่าย ให้กระจ่างชัดเจน ดังตัวอย่างแนวคิดการบริหารงานเครือข่าย ดังนี้

1. การหาความต้องการจำเป็นงานสำหรับสร้างเป้าหมายของเครือข่าย

เพื่อร่วมกันปั้นวัฒนธรรมการทำงานและทัศนคติของเครือข่ายให้เป็นไปในทางเดียวกัน

2. การมุ่งลดภาระงานที่ทับซ้อน

ประเมินความพร้อมของชุดปฏิบัติ หรือหน่วยงานองค์กรที่มีผลผลิตงานที่มีความรวดเร็วตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว

3. สร้างบทบาทของเครือข่ายเฉพาะกิจเฉพาะด้านเฉพาะประเด็น

แตกภาระงานให้เป็นลักษณะเฉพาะ หรือใช้บุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์ชนิดเดียวกัน

4. มอบหมายประเด็นเป้าหมาย และตัวชี้วัดการทำงาน

ในทุกขณะปฏิบัติงาน ทุกคนที่ร่วมเครือข่าย จะต้องมีความตระหนัก ดังนี้

4.1 Impact รู้ว่าตนเองทำงานไปเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับอะไร โดยมีการวัดผลการปฏิบัติอย่างไร

4.2 Passion ทุกคนในเครือข่ายจะต้องอินกับสิ่งที่ำในข้อ 4.1 และพยายามพัฒนางานและทุ่มเทความสามารถพยายามและความสามารถของตนเอง

4.3 Speed ไม่ต้องสมบูรณ์แบบก็ได้ แต่ต้องเร็วไว้ก่อน ตัดสินใจให้เร็ว วัดผลให้เร็ว ปรับปรุงให้เร็ว

4.4 Impact ไม่ยึดติดกับข้อตกลงเทคนิคการทำงานเบื้องต้น จะต้องปรับเปลี่ยนได้เพื่อบรรลุเป้าหมายตามข้อ 4.1

5.การสร้างเครือข่ายข้อมูลสาธารณะ

ปลุกปั้นให้ทุกคนทั้งผู้ประสบภัยพิบัติ ผู้ไม่ประสบภัยพิบัติและผู้ปฏิบัติ ผู้กำหนดนโยบายได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ร่วมมือกันแล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างกว้างขวาง

 

——————222————————-