วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ครอบครัวไทยมีความหวาดกลัวต่อประเภทพืบัติภีย จากการสำรวจประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตเมืองและนอกเมืองทั่วประเทศด้วยแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไปที่มีอายุมากกว่า 18 ปี    ขึ้นไป สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ตามเขตพื้นที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 18 เขตทั่วประเทศ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 3,600 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษาตามตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงระดับความคิดเห็นต่อความหวาดกลัวภัยพิบัติของประชาชน

ประเภทภัย

ค่าเฉลี่ย

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ร้อยละ

1

อัคคีภัย

4.93

1.77

49.38

2

อุบัติเหตุทางถนน

4.89

1.75

48.42

3

อุทกภัย

4.78

1.91

38.56

4

ภัยสารเคมีวัตถุอันตราย

4.65

1.89

46.84

5

วาตภัย

4.14

2.06

43.89

6

แผ่นดินไหวและอาคารถล่ม

4.08

1.78

30.57

7

โรคระบาด

3.88

1.63

38.24

8

ภัยแล้ง

3.76

1.85

37.85

9

ภัยจากเทคโนโลยี

3.68

1.95

36.84

10

วินาศกรรม

2.97

1.63

30.45

11

สึนามิ

2.04

1.71

18.25

12

อื่นๆ

1.84

1.67

9.75

อภิปรายและสรุปผล

1. ภัยแล้งประชาชนไม่ค่อยหวาดกลัวมากนัก  ซึ่งข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจนั้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งถ้วนทุกคน  ด้วยสภาวะโลกร้อนที่จะทวีความรุนแรงในอนาคต เป็นข้อกังวลว่าประชาชนยังขาดจิตสำนึกขาดความตระหนักในการเผชิญสถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงในอนาคต

2.อุบัติเหตุทางถนน ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้และหวาดกลัว แสดงให้เห็นพลังมหาศาล  ผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการขจัดความหวาดกลัว ดังนั้นภาครัฐ ไม่ควรจะไปวิ่งตามผู้อาจจะผิดพลาดบนท้องถนนมากนัก ใช้ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมตีกรอบพฤติกรรมของผู้ที่อาจจะผิดพลาดบนท้องถนน จะทำให้บรรลุเป้าหมายลดจำนวนความสูญเสียลงได้

3.อุทกภัย ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ตระหนักหวาดกลัว การป้องกันในระยะสั้นๆ 20-30 ปี ภาครัฐจำต้องตัดสินใจดำเนินโครงสร้างขนาดใหญ่รองรับมวลนำ้ที่ไม่เคยปรากฎในแผ่นดินไทยในรอบ 100 ปี