แนวคิดและรูปแบบการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน นิยมจำแนกเป็น ๒ รูปแบบ คือ
๑. รูปแบบที่เน้นการให้บริการ ณ จุดเกิดเหตุมากกว่านำส่งโรงพยาบาล (Franco – German model)
จะนำส่งเฉพาะรายที่จำเป็น ซึ่งรูปแบบนี้ใช้ในสถานการณ์ที่เกิดสาธารณภัยระดับที่ ๔ ที่เป็นสาธารณภัยร้ายแรงยิ่งหรือสาธารณภัยที่เกิดโรคระบาดที่จำเป็นต้องมีการปิดกันคัดกรองพื้นที่ การดำเนินการมีระดับหน่วยตั้งแต่ใช้ชุดปฏิบัติการไปจนถึงการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม
๒. รูปแบบที่เน้นการนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วโดยเจ้าหน้าที่กู้ชีพหรืออาสาสมัคร (Anglo-American Model)
ใช้ในเหตุภัยพิบัติขนาดเล็กหรือมีจำนวนผู้ป่วยจำนวนน้อยรายหรือไม่ใช่การเกิดโรคระบาดที่จำเป็นต้องมีการปิดกั้นคัดกรองพื้นที่
2.1 บุคลากรที่ให้บริการหลักจะเป็น paramedics และ Emergency Technician (EMT) โดยหลายประเทศมีพนักงานดับเพลิง เป็น First responder (FR) ทั้งนี้ ทั้งหมดต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด โดยพนักงานดับเพลิงนั้นต้องเรียนด้านนี้ขณะที่อบรมเป็นพนักงานดับเพลิง ส่วน paramedic และ EMT ต้องเรียนตามหลักสูตรและฝึกงานในแผนกฉุกเฉินและในหน่วยกู้ชีพ พร้อมทั้งต้องมีการสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพ รวมถึงต้องมีการฟื้นฟูและสอบใบอนุญาตใหม่ทุกๆ 1-3 ปี ขึ้นกับประเภทบุคลากร ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ในประเทศที่กำหนดให้บุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินเป็นวิชาชีพจะมีบันไดวิชาชีพ (สายงานการเติบโตและอัตราเงินเดือน) ที่ชัดเจน
2.2 รูปแบบการจัดรถพยาบาลฉุกเฉินส่วนใหญ่จะเป็น Two-tiered system คือแยกรถพยาบาลเป็น BLS และ ALS โดยมีศูนย์สั่งการเป็นคนพิจารณาสั่งการว่าจะเป็นรถประเภทใดในการให้บริการ โดยสาเหตุหลักของการออกแบบนี้คือเน้นประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร แต่ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์เป็นรูปแบบ Single-tiered system คือมีเฉพาะรถ ALS ในการให้บริการโดยใช้ paramedic และ emergency technician (EMT) ในการให้บริการ ด้วยเหตุผลหลักคือ ให้ผู้ป่วยได้รับบริการโดยบุคคลากรที่มีศักยภาพขณะเดียวกันก็มีไม่น้อยที่ศูนย์สั่งการวินิจฉัยว่าไม่ฉุกเฉินหรือไม่รุนแรงแต่เมื่อทีมรถไปถึงที่เกิดเหตุแล้วกลับพบว่าเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือรุนแรง อย่างไรก็ดีปัจจัยหลักในการกำหนดว่าประเทศนั้นๆ จะเลือกรูปแบบใดคงขึ้นกับความพร้อมของทรัพยากรเป็นสำคัญ
—————————————————-7——————————————————