วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

กรณีตัวอย่างบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด พบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจำนวน ๗๖ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิน ๕๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

และศาลแขวงได้พิพากษาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ลงโทษจำคุก๑ เดือน ปรับ ๓,๐๐๐ บาท โทษจ าคุกให้รอไว้มีก าหนด ๒ ปี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้มีคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี เนื่องจากพฤติกรรมทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อ ๗ (๒) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน จึงร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดซึ่งมีมติยกค าร้องทุกข์ จึงยื่นฟ้องผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒) ต่อศาลปกครองขอให้มีค าพิพากษาหรือค าสั่งเพิกถอนค าสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนและเพิกถอนมติยกค าร้องทุกข์ข้อเท็จจริงคือ เป็นการกระท าความผิดนอกเวลาราชการในเวลากลางคืนส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีประกาศก าหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ โดยให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ประกอบกับกฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔จังหวัดได้มีหนังสือแจ้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงมาตรการในการลดและป้องกันอุบัติเหตุของจังหวัด จ านวน ๕ ข้อ เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งให้บุคลากรในสังกัดทราบและถือปฏิบัติโดยมาตรการข้อ ๔ ก าหนดให้ข้าราชการที่ถูกด าเนินคดีจากการกระท าผิดวินัยจราจร เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย เมาแล้วขับ จะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนและงดบ าเหน็จ เนื่องจากไม่เคารพกฎหมาย

ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๖พฤติกรรมความผิดของผู้ฟ้องคดี เป็นความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้การกระทำผิด กรณีเมาแล้วขับอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ.๒๕๔๔

การที่จังหวัดกำหนดมาตรการในการลดและป้องกันอุบัติเหตุ จำนวน ๕ ข้อ ซึ่งมาตรการข้อ ๔ กำหนดให้ข้าราชการที่ถูกดำเนินคดีจากการกระทำผิดวินัยจราจร จะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนและงดบำเหน็จ เนื่องจากไม่เคารพกฎหมาย จึงเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนโดยไม่มีอำนาจ ตามกฎหมาย นอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรีได้กำหนดไว้ และการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำผิดนอกเวลาราชการและเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ มิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือทำให้เสื่อมเสียต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการแต่อย่างใด แม้จะเป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควรพึงกระทำแต่ไม่ถึงขนาดเมาสุราในที่ชุมชนหรือมีพฤติการณ์อื่นที่ทำให้เกิดเรื่องเสื่อมเสียหรือถูกติเตียนรังเกียจจากประชาชนทั่วไปจนเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ

คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน จึงเป็นการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งโดยอาศัยเหตุที่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยแนวทางในการปฏิบัติราชการที่ดี ในเรื่องการใช้อำนาจ กำหนดหลักเกณฑ์ใด ๆ ของฝ่ายปกครอง จะต้องอยู่ภายในขอบเขตกฎหมายที่ให้อำนาจหรือหากมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ ฝ่ายปกครองก็ไม่มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ ที่นอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรีได้ และการใช้อำนาจดุลพินิจของผู้มีอำนาจจะต้องใช้ดุลพินิจบนพื้นฐาน

ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ไม่ก้าวล่วงกรอบของกฎหมายและอย่างสมเหตุผลที่รับฟังได้ ไม่ใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ ดังเช่น กระทำผิดนอกเวลาราชการและเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ มิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ จำต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าทำให้เสื่อมเสียต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างไร   ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ ของตำแหน่งหน้าที่ราชการอย่างไร หรือไม่ เป็นต้น

(ผู้สนใจสามารถอ่านได้จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ. ๑๒๕/๒๕๖๐ และปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)

 

—————–ถถถ————-