วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การสื่อสารในกรณีเมื่อเกิดภัยพิบัติ มีจุดบกพร่องที่มักจะเน้นไปในด้านการโฆษณาองค์กรหน่วยงานตนเองและการแจ้งข้อเท็จจริง/ข้อมูลไปยังประชาชน  ติดกับดักอยู่ 2 ลักษณะนี้  ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ  การสื่อสารเพื่อการจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ จะต้องครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้

1.1 ในระดับสังคมส่วนรวม

             หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติสามารถแสดงบทบาทเพียงในระดับพื้นฐานของการสื่อสาร (การให้ข้อมูลข้อเท็จจริง การให้การศึกษา/การรับรู้)  แต่การสื่อสารในระดับสูงขึ้นมา เช่น การเคลื่อนไหวเพื่อระดมพลังแก้ปัญหาฉุกเฉินจากภัยพิบัติ  หรือระดมความคิดเห็นสู้ภาวะฉุกเฉินภัยพิบัติ  หรืองานให้ระดมข้อเสนอแนะจากสังคมจากผู้เปราะบาง  จากผู้อยู่ในภาวะเสี่ยงภัยเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการจัดการภัยพิบัติ  งานลักษณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติไม่สามารถที่ขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการออกมา  จากองค์กรได้  (ที่ทำอยู่ในรอบปี กพร.ก็มาประเมินอย่างโกลาหล  แล้วก็สรุปผลออกมาแบบชูนิ้ว  ดีๆ สุดยอดๆ เอาโบนัส  เอาตำแหน่งระดับสูงขึ้นไปแจกจ่ายกัน) ปัญหาไร้ประสิทธิภาพดังกล่าว นอกจากไร้ความสามารถแล้ว  ตนเองยังเป็นต้นตอของปัญหาหรือเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับตัวปัญหาเสียเอง

    1.2 ในระดับปัจเจกบุคคล

              การดำเนินการสื่อสารในช่วงวิกฤตภัยพิบัติ ไร้พลานุภาพในการสร้างผลกระทบต่อบุคคลอย่างสิ้นเชิง ทำได้เพียงระดับให้ความรู้/ความเข้าใจต่อภัยพิบัติ   ทำใด้อย่างเก่งแต่บอกปัญหา   อย่างกว้างๆ  (แม้จะแคบลงมากจากอดีตที่ผ่านมา) ไม่สาสามารถมารถขยับขึ้นมาถึงการสร้างพลังการมีส่วนร่วม  เนื่องจากทำได้เฉพาะสื่อสารทางเดียว  ผู้ปฏิบัติงานก็ยังมีทัศนคติ  มีวัฒนธรรมราชการ

บทสรุป เป็นประวัติศาสตร์หนึ่งของชุดประเทศกูมี   ที่รอวันปรับปรุงบนร่างอันไร้วิญญาณของประชาชน  นับพันๆ คน  แย่างไรก็ตาม หลักปฏิบัติของรัฐราชการในการสื่อสารในภาวะภัยพิบัติก็ยังเป็นสิ่งที่น่าปลาบปลี้ม  อบอุ่นใจ ยอมสละภาษีจุนเจือต่อไป ดังนี้

  1. การเตรียมการสื่อสาร: ก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติ ควรมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการสื่อสาร ซึ่งรวมถึงการติดตั้งและทดสอบอุปกรณ์สื่อสาร เช่น วิทยุสื่อสาร, โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ การเตรียมพร้อมนี้ช่วยให้ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างราบรื่นในเวลาฉุกเฉิน
  2. การกำหนดช่องทางสื่อสาร: ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ ควรกำหนดช่องทางสื่อสารที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ อาจเป็นการใช้วิทยุสื่อสารระหว่างทีมสำรวจหรือการใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล นอกจากนี้ สามารถใช้สื่อสารออนไลน์เช่น โซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มการสื่อสารอื่น ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือและแบ่งปันข้อมูลสำคัญในเวลาฉุกเฉินได้
  3. การสร้างระบบสื่อสารสังคม: สร้างระบบสื่อสารสังคมที่ชัดเจนและมีคำแนะนำเกี่ยวกับการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงการกำหนดสิ่งที่ควรพูดหรือปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ เช่น การให้คำสั่งแนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การสื่อสารทางวิทยุในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือการใช้สัญญาณการสื่อสารเพื่อสื่อความหมายที่ชัดเจนในเวลาฉุกเฉิน
  4. การฝึกฝนและทดสอบระบบสื่อสาร: เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการฝึกฝนที่สอดคล้องกับระบบสื่อสารที่ใช้งานอยู่ โดยทำการฝึกฝนการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร การใช้สัญญาณสื่อสารอย่างถูกต้อง และการสื่อสารระหว่างทีมสำรวจหรือผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังควรมีการทดสอบระบบสื่อสารเป็นประจำเพื่อตรวจสอบความพร้อมใช้งานและประสิทธิภาพของระบบ
  5. การสื่อสารระหว่างสังคม: หลังจากภัยพิบัติเกิดขึ้น การสื่อสารระหว่างสังคมเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การสื่อสารเกี่ยวกับความปลอดภัย และการสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือกันจะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติและสร้างความเข้าใจและสนับสนุน

————777—————