รัฐราชการรวมศูนย์สู้ภัยพิบัติด้วยวัฒนธรรมราชการสะเหล่อๆ
มีนักคิดประมวลข้อจำกัดของวัฒนธรรมราชการ ที่ทำให้ด้อยประสิทธิภาพในการจัดการภัยพิบัติ ดังนี้
1.รัฐราชการรวมศูนย์จะมีข้าราชการภายใต้วัฒนธรรมราชการ จะไม่สามารถให้คำอธิบายเรื่องภัยพิบัติที่แจ่มชัดให้เข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งหรือได้อย่างครบถ้วน กับสาธารณชนได้ แม้กระทั่งหลังผ่านภัยพิบัติแล้ว ยังตอบว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบความเสียหาย (ควรจะทราบ /รายงานส่วนที่กำลังตรวจสอบเพิ่มเติม) ไร้ความสามารถในการแปลงแนวคิด/ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์มาสู่แนวทางปฏิบัติ มาสู่ความเข้าใจของมวลชนยังไม่ดีพอ
2.ข้าราชการติดยึดรูปแบบการจัดการภัยพิบัติแบบตะวันตก ไม่รู้จักแนวทางรูปแบบของสังคมตะวันออก ทำให้ล่าช้าแถมยังติดปัญหาด้านการออกระเบียบกฎหมายด้านการใช้จ่ายงบประมาณ
3.ข้าราชการมีความสามารถเพียงแค่ทำภารกิจขององค์กรให้ผ่านพ้นไปโดยไร้ประสิทธิผล หรือมุ่งสร้างแต่ความรู้ และสร้างปลูกจิตสำนึกให้แก่ระดับบุคคล แต่ปัจจัยมหภาคกลับทำงานขับเคลื่อนกันตามภารกิจองค์กรทำให้งานซ้ำซ้อน ไร้พลังขับเคลื่อนที่เป็นเอกภาพ
4.ในแง่กลยุทธ์ ข้าราชการมักจะมุ่งเน้นการบรรเทาเยียวยามากกว่าการป้องกัน เกิดปัญหาวิกฤต เกิดความเสียหายแล้ว ก็จะออกมาดาหน้าวุ่นออกมาตรการแผนงานโครงการ (ตลอดชีวิตราชการของคนที่ออกมาตรการโครงการก็คุ้นชินกับเอกสารไม่กี่หน้าในแต่ละวัน นั่งขยับตัวอักษรซ้ายขวาปะหน้าปะหลังไปวันๆ)
5.ในแง่การจัดการ ยังมีความเชื่อมั่นยังมุ่งเน้นในการจัดการด้านเทคโนโลยีมากว่าเรื่องกระบวนการให้เกิดพลังขับเคลื่อนของสังคม จึงทุ่มเทซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย สร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรของตนเอง เพื่อรับมือกับความหายนะของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นมากขึ้น (เป็นข้อเสนอของบประมาณด้วยนะฮะ)
———–888————-