วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความอ่อนด้อย/ความเลอะเทอะของการสื่อสารอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข แม้ในปัจจุบันจะมีการสื่อสารอุบัติเหตุทางถนนทางสื่อมวลชนกันมากขึ้น ในช่องรายการทีวี  ในหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งแต่เดิมก็แทบจะเรียกว่าเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตายขึ้นบาดเจ็บลดลง เกิดกลางคืนกลางวัน เกิดทางตรงทางโค้ง ตรวจจับการฝ่าฝืนมากขึ้น (โชว์การช่วยเหลือ การควบคุมจับดัดสันดาน)

แต่นั้นก็เป็นเพียงด้านสื่อมวลชน ที่มีประสิทธิผลเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น  การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย

Model

Unstandardized Coefficients

Standardized  Coefficients

t

Sig

B

Std.

Beta

(Constant)

2.349E-16

0.058

 

0.000

1.000

รับชมรับฟังทางสื่อมวลชน

0.126

0.062

0.126

5.284

0.000

การพูดคุยในวิถีชีวิต

0.269

0.061

0.269

4.055

0.032

สื่อประเพณี และกิจกรรมรณรงค์

0.109

0.068

0.109

6.079

0.000

การสื่อสารกับตัวเอง/บันทึกส่วนตัว

0.526

0.069

0.526

6.878

0.000

R= 0.878, R = 0.484, Std. Error of the estimate = 0.72167
** p< 0.05

จากตารางค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระ (B) ทีส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร ชี้ให้เห็นว่า

1.การสื่อสารกับตัวเอง เช่น ด้วยการบันทึกพฤติกรรมส่วนตัว  จะมีประสิทธิผลมากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระ 0.526

2. การพูดคุยเรื่องต่างๆ บนท้องถนน ทั้งตัวต่อตัว  การพูดคุยในกลุ่ม  การสื่อสารบนสังคมโซเซียล การร่วมกิจกรรมเสวนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ จะมีประสิทธิผลรองลงมา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระ 0.269

3. การรับชมรับฟังการสื่อสารอุบัติเหตุทางถนนทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จะมีประสิทธิผลรองลงมา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระ 0.126

4. การรับรู้ทางสื่อประเพณี และกิจกรรมรณรงค์ จะมีประสิทธิผลน้อยที่สุด โโยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระ 0.109

เครคิตภาพ : Motor show 2019 เมืองทองธานี

—————555———————