วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

คนเราทุกคนจะคิดกันเก่งอยู่แล้วตามธรรมชาติของสัตว์มนุษย์ แต่พลังจากความคิดนั้นแตกต่างกัน บางคนคิดแล้วเกิดผลร้ายกับตนเองสับสนวุ่นวายจนอาจทำให้เจ็บป่วย หรือไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น  บางคิดก็คิดแล้วส่งผลดีแก่ตนเองส่งให้สร้างแต่กรรมดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รำ่รวยไม่เจ็บไม่เดือดร้อนไม่ทุกข์ใจ  จากผลการศึกษาวิจัยของผม พบว่า เมื่ออยู่บนท้องถนนเราควรจะตองมีแนวคิดอย่างไรถึงจะปลอดภัย ดังนี้

ตารางสถิติพรรณาการคิดที่ส่งให้มีความปลอดภัยเมื่ออยู่บนท้องถนน

รายการ

ค่าเฉลี่ย

SD.

ค่าความเบ้

ค่าความโด่ง

Alpha if Item delete

อะไรขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังการกระทำของเรา

6.8

1.56

.03

.21

.46

อะไรที่เราทำโดยไม่จำเป็น อะไรที่ควรทำแต่เราไม่ได้ทำ

5.7

1.85

.19

.09

.48

เรามองออกหรือไม่ว่าจะเกิดผลขึ้นตามมาอย่างไร

7.5

1.84

.05

-. 27

.38

เรามีแนวความคิดหรือหลักคิดแตกต่างกับคนอื่นหรือไม่อย่างไร

6.4

1.76

.23

-.17

.53

แนวความคิดของเราเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่

7.3

1.99

– .12

– .28

.51

แนวความคิดของเราลักษณะนี้เป็นผลดีต่อเรา ต่อเพื่อน ต่อครอบครัว ต่อองค์กรหรือสังคมหรือไม่

7.0

1.68

.18

-.34

.49

อะไรทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างนั้น

6.2

1.71

-.08

.11

.62

เราจะปรับการกระทำของเราอย่างไร

5.9

1.65

.19

-.14

.53

ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของมาตรวัด = .53

จะเห็นได้ว่า การคิดที่ส่งผลต่อความปลอดภัยเมื่ออยู่บนท้องถนน ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง โดยค่าคะแนนเรียงจากมากไปสู่น้อย   ได้ดังนี้

1.เรามองออกหรือไม่ว่าจะเกิดผลขึ้นตามมาอย่างไร

2. แนวความคิดของเราเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่

3.แนวความคิดของเราลักษณะนี้เป็นผลดีต่อเรา ต่อเพื่อน ต่อครอบครัว ต่อองค์กรหรือสังคมหรือไม่

4.อะไรขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังการกระทำของเรา

5.เรามีแนวความคิดหรือหลักคิดแตกต่างกับคนอื่นหรือไม่อย่างไร

6.อะไรทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างนั้น

7.เราจะปรับท่าทีหรือการกระทำของเราอย่างไร

8.อะไรที่เราทำโดยไม่จำเป็น อะไรที่ควรทำแต่เราไม่ได้ทำ

—————————————-777———————————