วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

แม้ในปัจจุบัน หน่วยงานองค์กรที่มีภารกิจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะกล่าวอ้างสมรรถนะตนเองว่าได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากเดิมที่มุ่งเน้นในการปฏิบัติการเชิงรับ ซึ่งให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือรักษาชีวิต ให้การบรรเทาทุกข์ และเผชิญกับสถานการณ์ในภาวะวิกฤตเมื่อภัยได้เกิดขึ้นแล้ว มาสู่การมุ่งเน้นการปฏิบัติที่เข้าใจในเรื่องความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ อย่างครบวงจร (เชิงรุก)

โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยง การวางมาตรการต่างๆ เพื่อจัดการกับต้นตอของความเสี่ยงให้หมดสิ้นไปหรือลดน้อยลง ตลอดจนการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้สูงขึ้นในการเผชิญสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น

แต่จากรายงานข่าวที่สื่อมวลชนได้นำเสนอเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น จะพบว่าการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยยังไม่ก้าวพ้นจากเชิงรับไปสู่เชิงรุก และจากการศึกษาในพื้นที่ประสบภัยพิบัติจำนวน 23 ชุมชน พบประเด็นต้นเหตุแห่งความล้มเหลวของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 3 ประการ ได้แก่

1. มาตรการ แผนงาน/โครงการ และผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องยังตามไม่ทันนิเวศภัยพิบัติที่ซับซ้อน รวดเร็ว และแปรผันรุนแรง

2. มาตรการ แผนงาน/โครงการ และผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังที่หลากหลาย ตามพื้นที่ ตามสังคมวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่งพับนั่งเก็บเสื้อโหลเพื่อเผชิญภัยพิบัติ พร้อมกับจัดช่องรูจมูกตามระเบียบกฎหมายข้อต่างๆ เพื่อส่องหน้าไปพบประชาชนตามช่องที่จัดไว้ แต่น่าแปลกใจที่สำนักงบประมาณ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกืจและสังคมแห่งชาติ กลับทุ่มงบประมาณให้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้นปีละ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยที่แผนงาน/โครงการเป็นการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมืออุปกรณ์ ถึงร้อยละ 85 พร้อมกับ ก.พ. หรือ ก.พ.ร. พร้อมใจกันขยายจำนวนข้าราชการให้อย่างก้าวกระโดดปีละ 20 เปอร์เซ็นต์

3.ไม่มีความเข้าใจความต้องการจำเป็นเฉพาะพื้นที่ จึงไม่สามารถทำงานเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไปสร้างศักยภาพให้ประชาชนก็เพียงไปให้ประชาชนรับทราบว่าหน่วยงานองค์กรของตนเก่งกล้าสามารถอย่างไร และประชาชนไม่รู้จักความรู้พื้นๆ ทั่วไปอย่างไร ประเภทไหน

 

—————————555555555555555—————————-