ในสังคมมนุษย์ นักวิชาการยอมรับกันว่ามีทุนในสังคมมนุษย์ 4 ประภท ได้แก่ 1) ทุนทางเศรษฐกิจ 2) ทุนวัฒนธรรม 3) ทุนทางสังคม (เป็นตัวกลางในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตหรือทุนอื่น เช่น ข่าวสารข้อมูล ทุนมนุษย์ (Human capital) ทุนกายภาพ (physical capital) ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) เป็นต้น) และ 4) ทุนทางสัญญลักษณ์ ทุนที่กล่าวมาสามารถแปรรูปเปลี่ยนไปมาระหว่างกันได้ เช่น หากมีทุนทางเศรษฐกิจมากก็สามารถแปรไปเป็นทุนทางสังคมได้หรือทุนทางวัฒนธรรมได้
บนท้องถนน ก็มีการแปรรูประหว่างทุนประเภทต่างๆ แต่ในที่นี้ จะกล่าวถึงการใช้ทุนทางสังคมในลักษณะที่ส่งผลเลวร้ายหรือเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ดังนี้
- ประการที่หนึ่ง ก่อให้เกิดปัญหาการกีดกันหรือสิทธิพิเศษ (Exclusion problem)
กล่าวคือ ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของคนกลุ่มหนึ่งอาจก่อให้เกิดการกีดกันออกจากการรับโทษตามกฎหมายจราจรหรือให้สิทธิพิเศษในการใช้ถนน เช่น บรรทุกน้ำหนักเกิน การใช้รถผิดประเภท
- ประการที่สอง ก่อให้เกิดปัญหาการจำกัดเสรีภาพ
กล่าวคือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ใดๆ บนท้องถนน มักเป็นไปตามความคิดเห็นหรือความต้องการของบางกลุ่มบางพวก
- ประการที่สาม ก่อให้เกิดปัญหาการเข้าสู่วังวนของความเลวร้าย (Downward-leveling pressure)
กล่าวคือ การมีกลุ่มความสัมพันธ์บางรูปแบบ เช่น แก๊งวัยรุ่น แก๊งมาเฟีย แรงกดดันและวัฒนธรรมหลายๆอย่างที่ฉุดดึงให้ลงสู่ห้วงแห่งความเลวร้าย ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมการใช้ความรุนแรง การเรียกค่าคุ้มครอง คอรัปชั่น เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นผลดีแต่ประการใดต่อสังคมโดยรวม
เราสามารถสังเกตุหรือวัดทุนทางสังคมที่เกิดขึ้นบนท้องถนนได้ 2 วิธี เพื่อจะช่วยกันจำกัดผลร้ายของการใช้ทุนทางสังคม คือ
1. วัดจำนวนและคุณภาพของการมีปฏิสัมพันธ์ในหลายๆ รูปแบบที่เกิดขึ้น
2. วัดทุนทางสังคมโดยตรงเลยว่ามีอยู่มากน้อยแค่ไหน ตามตรรกะ/เหตุผลของผู้วัด เช่น ระดับของความเชื่อถือไว้วางใจกัน ปริมาณและคุณภาพของกลุ่ม/องค์กร เครือข่ายและสถาบันต่างๆ ที่ปัจเจกชนหรือชุมชนมี
หากต้องการรังสรรค์ท้องถนนให้มีความปลอดภัย เราต้องต้องช่วยกันสังเกตุและวัดทุนสังคมทางสังคมที่ปรากฎขึ้น เป็นไปในทางดีหรือเลวร้าย เป็นไปในทางเลวร้ายก็ช่วยกันร้องเรียน/แสดงความคิดเห็นให้กระจายเป็นที่รับรู้กันในสังคมเพื่อนำสู่การแก้ไขต่อไป
—————————444——————————–