การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศโลกอันเป็นฝีมือจากมนุษย์เราที่ทำให้โลกร้อนขึ้นhttps://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/climate/climate-change/ /http://www.lesa.biz/earth/global-change/climate-change ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกมากขึ้น การตัดไม้ทำลายป่าที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ตามการขยายตัวของชุมชนและการพัฒนาอุตสาหกรรมของโลก https://thaipublica.org/2020/03/kritsada-boonchai-12/
แม้เศรษฐกิจโลกขยายตัว แต่การขยายตัวต้องแลกกับภัยพิบัติที่มนุษยชาติต้องเผชิญ https://www.hoonsmart.com/archives/101416 ผลจากโลกร้อนทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เกิดภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ โรคอุบัติใหม่ รุนแรงมากขึ้น กระทบต่อชีวิตและการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ
- ประเทศเกษตรกรรมพื้นฐานเช่นไทยต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะน้ำดื่ม น้ำใช้ และน้ำเพื่อเกษตรกรรม ฝนที่ตกลงมาบนพื้นโลก เราสามารถเก็บไว้ใช้ประโยชน์เพียง 20 % ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่า 1,587.7 มิลลิเมตร
- ป่าไม้ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการประโยชน์น้ำฝนตามธรรมชาติ โดยซึมซับชะลอการไหลของน้ำลงทะเลในเวลาอันรวดเร็ว และช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตไม่ ถ้าไม่มีป่าไม้ ฝนที่ตกก็จะก่อให้เกิดน้ำท่วม
- ช่วยขวางให้น้ำอยู่ได้นานขึ้นก็คือต้นไม้
หนทางการชะลอผลกระทบร้ายแรง
1.การออกแบบเศรษฐกิจที่เน้นการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่เป็นวงจรไม่รู้จบ แทนการผลิต-ใช้-แล้วทิ้ง แบบเส้นตรง ตามรูปแบบอุตสาหกรรมรูปแบบเดิม
2.สนับสนุนการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้เชื่อมโยงข้อมูลวิทยาศาสตร์ เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ ให้เข้ากับการดำรงชีพในชีวิตประจำวันของประชาชน
3.สื่อสาร รณรงค์ที่มีมิติมนุษย์ โดยมีเป้าหมายให้ผู้คนตื่นตัว
4.สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของสาธารณะอย่างกว้างขวาง สร้างพื้นที่ (platform) และกลไกประสานการขับเคลื่อนในแต่ละด้าน โดยสร้างพื้นที่กลางสาธารณะทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมมือกัน และดึงภาคีที่มีความสนใจ มีศักยภาพในการสร้างการเปลี่ยนแปลงแต่ละด้าน เช่น ด้านวิชาการ ด้านการสื่อสาร ด้านนโยบาย ด้านขับเคลื่อนมวลชน ฯลฯ มาสร้างเป็นกลุ่มประสานงาน (node) ในการระดมพลังสังคมมาขับเคลื่อนแต่ละด้าน โดยมีกลไกเชิงยุทธศาสตร์ประสานเชื่อมโยงกัน
—————–//////////////———————-