วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความปลอดภัยทางถนนในสังคมไทยถูกสร้างและออกแบบให้เป็นภาระความรับผิดชอบของหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในสามส่วนหลัก คือการบังคับใช้กฏหมาย ถนน และยานพาหนะ ซึ่งถูกออกแบบมาภายใต้ระบอบการปกครองเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งเมื่อระบบนี้ขยายใหญ่ขึ้นตามการพัฒนาของประเทศ ทำให้ระบบนี้มีการขูดรีดกดขี่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน  ต่างจากหลายๆ ประเทศที่ปลูกฝังให้ต้องเป็นภาระรับผิดชอบของผู้ใช้รถใช้ถนน

ความรับผิดชอบของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ในสายตาของประชาชนเป็นเพียงการที่ต้องอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่ของภาครัฐเท่านั้น และในสายตาปัญญาชนที่ๆ ผ่านแล้ว เห็นและชี้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนว่าล้วนเป็นปัญหาของชนชั้นแรงงาน อีกทั้ง ผลิตภาพทางวิชาการของตนเองอยู่ภายใต้ระบบอุปถมภ์ ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมมากนัก ทั้งที่สังคมได้อุปถัมภ์คำ้ชูพวกเขา อยู่ในระบบการศึกษาจนถึงเกษียณ จวบจนตาย

และด้วยระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึก ทำให้แทนที่คนรำ่รวยจะต้องได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน แต่ส่วนใหญ่มีการทำสำนวนอ่อน ซื้อสำนวนโดยทนายมาแก้ไขใหม่หรือมีการหาคนมารับผิดชอบแทน

กล่าวได้ว่าด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น  เป็นการสร้างความแปลกแยกในโครงสร้างทางสังคม สภาวะแปลกแยก สร้างผลกระทบที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเหินห่างจากความเป็นมนุษย์ในแง่ที่รักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

2. ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนตกอยู่ในอำนาจของวัตถุ (รถยนต์และถนน) ต่างก็พยายามดิ้นรนไขว่คว้าให้ได้มาเป็นเจ้าของเพื่อสนองความต้องการที่ถูกปลุกปั่น

3. ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในชีวิตประจำวันบนท้องถนน เช่น ค่าโดยสารแพง  สภาพรถติด  การขับขี่การใช้รถใช้ถนนที่มีอภิสิทธิ์  ฯลฯ

ทั้งนี้มีหน่วยงานรัฐของประเทศเป็นเพียงองค์กรที่ขับเคลื่อนช่วยรักษาสถาบัน สร้างความชอบธรรมและส่งเสริมการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพในการขยายองค์กรที่ไร้ประสิทธิผลใดๆ ต่อผู้ใช้รถใช้ถนน และเพิ่มอัตราการขูดรีดผู้ใช้แรงงานมากขึ้นด้วย (รถไฟฟ้าหลายแสนล้าน คนที่เข้าถึงได้น้อย   ทางด่วนหลายหมื่นล้าน ฯลฯ)  ทำไมหน่วยงานรัฐไม่รู้สึกแปลกแยกจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันบ้างหรือ

 

———————————-888————————————