วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สังคมคาร์บอนพอเพียงจะเน้นการลดก๊าซเรือนกระจก ร่วมกับวิถีการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย กลมกลืนกับธรรมชาติ รวมทั้ง การพัฒนาเทคโนโลยีในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เทคโนโลยีการใช้พลังงานทดแทน เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานในสาขาต่างๆ โดยผลักดันให้มีการเทคโนโลยีสะอาด โดยคาดหวังว่าการใช้เทคโนโลยีสะอาดและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นการกระตุ้นและเป็นการนำเข้าสู่สังคมคาร์บอนพอเพียง

หลายประเทศได้เสนอแนวคิดและวิธีการดำเนินงานใหม่ๆ ที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่ใช้สังคมเป็นตัวนำ โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงของสังคม ในรูปการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของพฤติกรรมการดำรงชีวิต การบริโภค และการตระหนักรู้ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ผลักดันให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำที่ใช้บุคคลเป็นตัวขับเคลื่อนการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีสะอาดด้วยการเน้นการตระหนักเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ซึ่งประกอบด้วยแนวทางสำคัญ 3 แนวทาง ดังนี้

  1. การปล่อยคาร์บอนให้น้อยที่สุด ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปล่อยในปริมาณที่ดูดกลับได้โดยธรรมชาติ (Zero emission)
  2. การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นอยู่เรียบง่ายแต่มีความสุข ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของสังคมเพื่อเข้าสู่สังคมคุณภาพชีวิตที่ขับเคลื่อนด้วยการเลือกบริโภคสินค้าที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
  3. การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ได้แก่ การบำรุงและรักษาธรรมชาติให้อยู่คู่กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และสนับสนุนเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ข้อจำกัดหรืออุปสรรค

1. การเก็บข้อมูล

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนพอเพียง ยังขาดการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เช่น ข้อมูลด้านการใช้พลังงานในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีต เป็นต้น

2. การยอมรับแนวคิดสังคมคาร์บอนพอเพียง

แม้จะมีความรับรู้เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับการรับรู้มากกว่าการปฏิบัติจริง

——————————————–5555—————————————