วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีช่วงที่ประสบปัญหาภัยแล้งมากกว่าปัญหาอุทกภัย ในอัตราส่วน 2 ใน 3 แต่งบประมาณที่หน่วยงานที่เกียวข้องใช้แก้ปัญหาภัยแล้ง กลับน้อยกว่างบประมาณแก้ปัญหาอุทกภัย ในอัตราส่วน 3 ใน 10

อันถือได้ว่าเป็นความกำกวมคลุมเครือของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจากการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุความกำกวมคลุมเครือดังกล่าว พบว่า

ตารางแสดงอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรต่างๆ ที่มีต่อความกำกวมคลุมเครือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปร

ความสัมพันธ์รวม

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

ไม่ใช่เชิงสาเหตุ

ทางตรง

ทางอ้อม

รวม

ฐานส่งกำลังบำรุงขององค์กร

.462

.467

.467

.046

กระแสสังคม

.165

.196

.021

.217

.018

ความต้องการจำเป็นในการแก้ไขปัญหา

.378

.258

.089

.347

.031

ผลการศึกษาวิจัยบ่งชี้สนับสนุน

.036

.206

.098

.304

.024

จากตาราง พบว่าความกำกวมคลุมเครือของหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นสาเหตุอิทธิพลทางรวมมากที่สุด คือ ฐานการส่งกำลังบำรุงองค์กร รองลงมาคือ ความต้องการจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาวิจัยบ่งชี้สนับสนุน และกระแสสังคม ตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความกำกวมคลุมเครือของหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด คือ การศึกษาวิจัยบ่งชี้สนับสนุน ความต้องการจำเป็นในการแก้ไขปัญหา และกระแสสังคม ตามลำดับ

ข้อสังเกต

ความต้องการจำเป็นในการแก้ไขปัญหา เป็นเพียงข้ออ้างข้อสนับสนุนในการตัดสินใจดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนให้มีความสมเหตุสมผล  ทั้งนี้เพื่อความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเป็นพื้นฐาน  ยิ่งนานวันก็ยิ่งเพิ่มงบประมาณ ขยายงานขยายกำลังเจ้าหน้าที่ แต่อนาคตที่แม้จะเป็นจินตนาการแต่ไม่มีสวยงาม แต่เป็นความหายนะที่รุนแรง

ตามรัฐธรรมนูญที่เขียนเอาไว้โดยทุกภาคส่วนละเลย แม้แต่คนเขียนเอง (Junta ประยุทธ์) ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณจากความต้องการจำเป็น และมีผลการศึกษาวิจัยสนับสนุน (ทั้งความจำเป็น/ผลกระทบ/ความคุุ้มค่า) เป็นลำดับต้นๆ


————————————55555555555————————–