การพัฒนาอาสาสมัครเพื่อสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกิจกรรมที่มุ่งขัดเกลาอาสาสมัครทั้งการมีส่วนร่วมและการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม โดยอาสาสมัครที่มีสมรรถนะสูงควรจะได้มีการแสดงออกผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1.กัลยาณมิตร
ควรให้ดำเนินไปอย่าได้ทำลายด้วยความหวังดีแต่ประสงค์ร้าย ทั้งนี้ เพื่อให้งานอาสาสมัครดำเนินไปโดยยั่งยืน มีข้อควรระวัง 2 ประการ คือ หนึ่งไม่ควรจะให้สิ่งตอบแทนใดๆ และสองไม่ควรจะมีการประเมินผลใดๆ
2.สร้างนวัตกรรม
ผู้เขียนพบในหลายพื้นที่ ที่อาสาสมัครที่ผ่านการอบรมไม่สามารถสร้างนวัตกรรมอย่างง่ายๆ ขึ้นได้ กล่าวคือ ผ่านการฝึกการดับเพลิง แต่เมื่อเกิดอัคคีภัยในหมู่บ้านชุมชน อาสาสมัครไม่สามสามารถเป็น IC เบื้องต้นได้เลย ทำให้การดับเพลิงด้วยคนในชุมชนเป็นไปอย่างชุลมุนวุ่นวาย ไม่มีหลักปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ (ดับเป็นแต่เพลิงในกระบะ หรือจากถังก๊าซหุงต้ม) อีกทั้งเรียนการจัดการสาธารณภัย แต่เรียนกระบวนการทำงานของภาครัฐ ซึ่งไกลตัวซะเหลือเกิน เกิดสาธารณภัยเล็กในหมู่บ้านชุมชนอาสาสมัครก็ไม่สามารถจัดระบบการจัดการที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ (รู้แต่กระบวนการจัดการของภาครัฐ ซึ่งบางทีคนมาเปิดภาพสไลด์ให้อาสาสมัครดูก็ไม่รู้จะจัดการสาธารณภัยได้รวดเร็วไหมเมื่อเกิดสาธารณภัยเฉพาะหน้าขึ้น ถือว่าเรียนจากเป็ด ไม่นับการเตรียมการรับมือสาธารณภัยในอนาคตซึ่งแบะๆ แน่นอนเพราะเติบโต/อยู่ภายใต้วัฒนธรรมการทำงานแบบยีราฟตายควายรอด)
3.การสื่อสารที่เอื้อหนุนต่องาน
การสนับสนุนให้อาสาสมัครมีการสื่อสารที่เอื้อหนุน แทบจะไม่มีการดำเนินการ ทั้งๆ ที่ระบบการสื่อสารสมัยนี้ง่ายมาก แต่ก็ไม่มีปล่อยลอยแพเอาไว้ ถึงเวลาเรียกมาเป็นกรรมกรใช้แรงงานซะส่วนใหญ่
4.ความต่อเนื่อง
ต้องหลากหลายในกิจกรรมเพื่อให้มีความต่อเนื่อง เช่น อาสาสมัครภัยพิบัติ เมื่อยามไม่มีภัยพิบัติก็มีกิจกรรมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การประชุมถกเถียงสนทนากันเนืองๆ
หากละเลยหลักทั้ง 4 ประการ เราจะมีแต่จำนวนที่มาก แต่ใช้ประโยชน์ได้เฉพาะงานระดมพลของหน่วยงานภาครัฐ แต่วิถึชีวิตประจำวันไม่มีสมรรถนะที่จะลดความรุนแรงของสาธารณภัยในพื้นที่ได้ ไม่คุ้มกับงบประมาณมหาศาลหัวละเกือบสองพันบาทในการฝึกอบรมพัฒนา
—————————-555555555555555———————————