การขับเคลื่อนสู่สังคมนิรภัย หน่วยหลักในการวิเคราะห์คุณลักษณะนิรภัยจากภัยพิบัติ จะประกอบด้วย 1) ระเบียบในเชิงกฎหมายและสถาบัน 2) จัดตั้งองค์กรทั้งถาวรและชั่วคราวที่อ้างความชอบธรรมเร่งด่วนฉุกเฉิน 3) พลวัตทางสังคม
ทั้งนี้ พลวัตทางสังคม จากการศีกษาแนวความคิดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 450 คนที่สถานีขนส่งหมอชิต และสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ระหว่างตุลาคม-พฤศจิกายน 2562 เป็นไปตามตารางสถิติความต้องการจำเป็น กำหนดโดยวิธี PNI modified
ข้อความ |
ค่าเฉลี่ยของสภาพที่เป็นจริง (I) |
ค่าเฉลี่ยของสภาพที่ควรจะเป็น (D) |
ผลต่าง (I-D) |
(I-D)/D |
ลำดับความจำเป็น |
การถกเถียงเชิงป้องกัน |
2.0 |
3.4 |
1.4 |
0.41 |
1 |
การถกเถียงเชิงบรรเทา |
2.1 |
3.3 |
1.2 |
0.36 |
2 |
ความเข้มแข็งของโครงสร้างนิยม (แบบอำนาจนิยม/แบบประชาธิปไตยเชิงสร้างสรรค์) |
4.0 |
3.4 |
0.6 |
0.18 |
5 |
กระแสสังคม |
3.9 |
3.0 |
0.9 |
0.3 |
3 |
การจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน |
3.7 |
2.9 |
0.8 |
0.27 |
4 |
จากตารางความต้องการจำเป็นข้างต้น จะพบว่า พลวัตทางสังคมในการถกเถียงเชิงป้องกัน และเชิงบรรเทาในสังคมปัจจุบัน มีให้เห็นน้อยมาก ทั้งที่ คนในสังคมก็อยากพูดคุยถกเถียงกันในการกำหนดชะตากรรมกำหนดวิถีทางมีช่องทางการส่งต่อการรับรู้ในการเผชิญกับหายนะ แต่ที่พบในสังคมปัจจุบันกลับมีแต่อิทธิพลของอำนาจนิยมจากอำนาจรัฐ เอาผู้คนในสังคมรองรับภารกิจอำนาจของตนเองภายใต้แผนงานโครงการใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชน แต่ให้โอกาสหรือสร้างโอกาสสร้างช่องทางให้มีการถกเถียงของประชาชนน้อยมาก
—————————————-5555555———————————–