การเพาะปลูกข้าวในปัจจุุบัน ความต้องการน้ำของข้าวในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันเนื่องจากคุณสมบัติของดิน ในการอุ้มน้ำ หรือสูญเสียน้าได้ยากหรือง่าย วิธีการทำนาก็มีผลต่อการใช้น้ำ และชนิดของพันธุ์ข้าวที่ปลูกก็ใช้น้ำแตกต่างกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ต้องใช้อย่างต่ำ ดังนี้
ในพื้นที่ภาคเหนือ
1.ที่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105ในฤดูนาปีใช้น้ำ 600-990 ลูกบาศก์เมตร ต่อฤดูปลูก
2.ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงใช้น้ำประมาณ 660-1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อฤดูปลูก
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.ที่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105ในฤดูนาปีใช้น้ำ 650-1,050 ลูกบาศก์เมตร ต่อฤดูปลูก
2.ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงใช้น้ำประมาณ 730-1,170 ลูกบาศก์เมตรต่อฤดูปลูก
ในพื้นที่ภาคกลาง
1.ข้าวพันธุ์ไม่ไวแสงใช้น้ำประมาณ 730-1,150 ลูกบาศก์เมตรต่อฤดูปลูก
2.นาปีใช้น้ำ ประมาณ 1,100-2,000 ลูกบาศก์เมตร/ตัน นาปรัง ประมาณ 700-900 ลูกบาศก์เมตร/ตัน
ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าว เป็นค่าเฉลี่ยจากการเพาะปลูกข้าวแบบเกษตรกรปฏิบัติ (CP) ที่มีระดับน้ำในแปลงนา 8-10 ซม. หากเกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกไปสู่วิธีทำนาแบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (gap) และวิธีทำนาแบบเปียกสลับแห้ง (AWP) จะสามารถลดปริมาณการใฃ้นนำ้ลง ประมาณ 1 ใน 3 ส่วนจากที่ใช้อยู่เดิม
ดังนั้น ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อการประหยัดทรัพยากรน้ำ คือ
1. ศึกษาวิจัยพัฒนาพันธ์พืชที่ลดการคายนำ้ที่ยังคงผลผลิตสูง
2.ดำเนินนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
2.1 ในพื้นที่ชลประทาน
1) บริหารจัดการการส่งน้ำตามค่าคายระเหยของข้าว
2) ส่งเสริมการขยายพื้นที่การเพาะปลูกแบบเปียกสลับแห้ง
2.2 นอกพื้นที่ชลประทาน
1) ส่งเสริมการขุดบ่อน้ำสำหรับการบริหารการเพาะปลูกแบบเปียกสลับแห้ง
2) สร้างสภาวะแวดล้อมที่ลดการคายระเหยน้ำของข้าว
———————-555—————————-