จ่าทหารคลั่งใช้อาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชนกลางเมืองนครราชสีมาและภายในห้าง Terminal 21 มีผู้เสียชีวิต 29 ราย บาดเจ็บ 57 คน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 เหตุดังกล่าวเป็นสาธารณภัยตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 มาตรา 4 ฯลฯ ภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน ฯลฯ
ดังนั้น กล่าวได้ว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ไม่มีการเตรียมพร้อมใดๆ จึงไม่เห็นการปฏิบัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัย (ไม่ใช่การต่อสู้ระงับเหตุกับคนร้ายนะครับ เป็นหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอื่นๆ)
ข้อบกพร่อง
1.ขาดการสื่อสารกับมวลชนเพื่อหลีกเลี่ยงหรือรับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประชาชนที่ถนนมิตรภาพและภายในห้างไม่ได้รับการแจ้งเตือนก่อนล่วงหน้า หรือบริเวณอื่นๆ ที่คาดว่าคนร้ายจะเดินทางไป (ปัญหาคือมาแต่อ้าง Fake ืnews เอาหน้าเอาตา, งบประมาณ IT แต่ละหน่วยงานมากมายมหาศาล)
2.ขาดการเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินสถานการณ์เพื่อปฏิบัติการลดความเสี่ยงหรือลดความสูญเสีย
ไม่มีการทำ Checklist ขั้นตอนการปฏิบัติตอบโต้สถานการณ์อย่างเป็นระบบทันที
3.แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดนครราชสีมาพัฒนาหรือดำเนินอยู่อย่างไร้ทิศทางและครอบคลุม
จึงทำให้หน่วยปฏิบัติการต่างๆ ไม่ได้กระดิกกระเดี้ยตามภาระหน้าที่ตามข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. ปรับปรุงแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับท้องถิ่น ให้มีบทว่าด้วยการเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินสถานการณ์ และบทที่ว่าด้วยการปฏิบัติขั้นต้นฉุกเฉิน
2.ปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ 2556 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนตามอ านาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 ให้สามารถช่วยเหลือประชาชน เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูหลังเกิดสาธารณภัย หรือการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.ปรับปรุงระบบปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินให้ทันเหตุการณ์ทันเวลา
———————————555——————-