วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ จะมีแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานซึ่งในแผนปฏิบัติงานจะประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรม  การพิจารณาเห็นชอบโครงการ/กิจกรรมโดยหัวหน้าส่วนราชการนั้น ส่วนใหญ่พัฒนามาจากกรอบแนวคิดตัวชี้วัดแบบปัจจัย นำเข้า ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ  ส่งผลให้สัมฤทธิผลของการปฏิบัติงานภาครัฐไม่ได้มีคุณค่าต่อประชาชนมากนัก

ไม่ได้ยกเว้นแน่นอนสำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ล้วนมีกรอบแนวคิด ตัวชี้วัดมาจากกรอบแนวคิดตัวชี้วัดแบบปัจจัยนำเข้า ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ซึ่งถ้าจะให้เกิดคุณค่าต่อประชาชนอย่างยั่งยืน  จะต้องมีการพัฒนาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมภายใต้กรอบแนวคิดตัวชี้วัดแบบ DPSIR  และกรอบแนวคิดตัวชี้วัดแบบสภาวะแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (ซึ่งน่าจะปรับเปลี่ยนเพื่อพี่น้องประชาชน  โดยพวกท่านยังทำมาหากินได้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง) ความแตกต่างของกรอบแนวคิดตัวชี้วัดทั้ง 3 กรอบ แนวคิด คือ

1.กรอบแนวคิดตัวชี้วัดแบบปัจจัยนำเข้า-ผลผลิต-ผลลัพธ์ และผลกระทบ

กรอบแนวคิดนี้ใช้ในการปรับปรุงสภาวะแวดล้อมในระยะสั้นๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการ ปรับปรุงวิธีการ เป็นกรอบแนวคิดตัวชี้วัดที่จะต้องนำมาใช้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ  ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับพี่น้องประชาชน

2.กรอบแนวคิดตัวชี้วัดแบบกำลังขับเคลื่อน-ความกดดัน-สภาวะ-การตอบสนอง-ผลกระทบ-การตอบสนอง (DPSIR)

กรอบแนวคิดตัวชี้วัดนี้เหมาะกับการพัฒนาแผนงานที่มีขนาดใหญ่ระดับประเทศ แผนงานระดับกรม ระดับจังหวัด ท้องถิ่นขนาดใหญ่  เพื่อพัฒนาความมั่นคงด้านทรัพยากรนำ้ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรแร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า ปรับปรุงสภาพอากาศ ฯลฯ

3.กรอบแนวคิดสภาวะแวดล้อมหรือการพัฒนาที่ยั่งยืน

กรอบแนวคิดตัวชี้วัดนี้ใช้ในการให้การรับรองระดับการบริการขั้นพื้นฐานแก่พี่น้องประชาชน  ปัจจุบันมีเป้าหมาย 204 ประเด็นที่จะต้องให้บริการขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด (http://osthailand.nic.go.th/files/policy_sector/File_Download/204_Indicator_SDGs.pdf)

—————————————55555555——————————————