วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ปัจจุบันปัญหาภัยพิบัติในประเทศไทย.มีความหลากหลายมีความสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงเร็ว แต่ละปัญหามีความเกี่ยวโยงกับหลายสาเหตุหลายปัจจัย และนับวันจะทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ภัยสึนามิ อัคคีภัย ไฟป่า ภัยจากความแห้งแล้ง ภาครัฐเพียงส่วนเดียวไม่อาจป้องกัน แก้ไขบรรเทาภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการแก้ไขปัญหาไม่สามารถกระทำได้โดยง่ายๆ อีกต่อไป

การแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหา มีลักษณะที่ต่างคนต่างทำต่างคนต่างแก้ปัญหา แต่ละหน่วยงานต่างก็มียุทธศาสตร์หรือศาสตร์ของกลวิธี มีแผนงานโครงการต่างๆมากมาย ในอันที่จะสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงปลอดภัยให้กับชุมชนและมีลักษณะของการสั่งการมาจากข้างบนและเป็นการพัฒนาแบบแยกส่วน แยกเป็นเรื่องๆไม่เป็นองค์รวม ไม่พิจารณาถึงปัจจัยต่างๆที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เป็นแนวคิดการพัฒนาเพื่อประชาชนที่ทุกคน   ทุกหน่วยงานต้องการที่จะทำอะไรให้แก่ประชาชน รับใช้ประชาชน ไม่ว่าข้าราชการ นักการเมือง องค์กรให้..ความช่วยเหลือและองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการจะทราบว่าชาวบ้านต้องการอะไร มีการใช้วิธีการในลักษณะการมีส่วนร่วม

เพื่อค้นหาว่าประชาชนต้องการอะไร เพื่อนำความต้องการมาวางแผนสนองความต้องการของประชาชน เป็นยุทธศาสตร์ที่มาจากการคาดเดาว่าชุมชนมีความต้องการจำเป็นหรือเอาแบบอย่างมาจากต่างประเทศ แนวทางที่ถูกต้อง น่าจะสนับสนุนให้ชุมชนมีสมรรถนะมีความสามารถให้มากขึ้น มากพอที่แก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตัวเอง

—————————555555555555555—————————–