วันที่ 23 มกราคม 2563 จีนสั่งปิดเมืองอู๋ฮั่น เพื่อกักกันโรค แต่ถัดมาในวันที่ 24 มกราคม 2563 ก็ต้องสั่งปิดอีก 10 เมือง https://www.thaipost.net/main/detail/55431 สภาพภายในเมืองที่ถูกปิดคนไข้จำนวนมากที่หมอวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ เพราะไม่มีเตียงว่าง ส่วนคนป่วยที่มีไข้สูงก็ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ผู้คนไม่มีทรัพยากรหรือช่องทางติดต่อขอความช่วยเหลือจากใครเลย
ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Lancet ฉบับวันที่ 29 ม.ค. 2563 เผยถึงข้อมูลเรื่องต้นตอของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ 2019-nCoV ที่ได้จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมว่ามีแหล่งกำเนิดของเชื้อมาจากค้างคาว แต่จะต้องมี “สัตว์ตัวกลาง” ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาติดต่อสู่คนอีกทอดหนึ่ง https://www.bbc.com/thai/features-51318174
ยอดคนตาย ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 1,868 ราย ติดเชื้อ 73,300 คน ผู้ติดเชื้อใน 27 ประเทศ 2 เขตปกครองพิเศษ โดยชาติที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ จีน (72,436 ราย), เรือ Diamond Princess (454 ราย), สิงคโปร์ (77 ราย), ญี่ปุ่น (66 ราย), ฮ่องกง (60 ราย) และไทย (35 ราย) ซึ่งพบผู้ติดเชื้อในจีนแผ่นดินใหญ่คิดเป็น 98.77% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด https://thestandard.co/coronavirus-outbreak-180263/
สถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นความเป็นอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ เป็นการยกระดับจากความเป็นอันตรายทางชีววิทยา ไปสู่ความเป็นอันตรายด้านวัฒนธรรมและความเป็นอันตรายจากการใช้ชีวิต ตามที่ Miller และ Spoolman (2011) ได้แบ่งประเภทของความเป็นอันตราย ไว้ 5 ประเภท ได้แก่
1. ความเป็นอันตรายด้านชีววิทยา (Biological hazard) เช่น พาหะที่อาจติดต่อสู่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จากไวรัส แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ โปรโตซัว เชื้อรา ฯลฯ
2. ความเป็นอันตรายทางเคมี (Chemical hazard) ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ น้ำ ดิน อาหาร และสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์
3. ความเป็นอันตรายจากธรรมชาติ (Natual hazard) เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม และพายุต่างๆ ฯลฯ
4.ความเป็นอันตรายด้านวัฒนธรรม (Culture hazard) เช่น อันตรายจากสภาพการทำงาน การใช้ทางด่วน อาชญากรรม ความยากจน ฯลฯ
5.ความเป็นอันตรายจากการใช้ชีวิต (Life style choice) เช่น การสูบบุหรี่ การเลือกบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การดิ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
———————55555—————————