เข้าใจว่าทุกคนไม่อยากประสบกับหายนะ แต่ทำไมในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่เรามีความก้าวหน้าอย่างมากมายในหลายๆ ด้าน แต่ไม่น่าเชื่อว่าเรายังเห็นเพื่อนมนุษย์ได้รับความหายนะอย่างน่าเวทนาอยู่บ่อยๆ จากการเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชน โครงสร้างทางสังคมในหลายๆ โครงสร้างไม่ได้ให้สวัสดิภาพแก่เราบ้างเลยหรืออย่างไร หรือมีโครงสร้างหายนะในสังคมของเรา ที่บีบคั้นพวกเรา ทำให้เรากระทบกระทั่งกัน ขัดแย้ง ทำร้ายกัน ประดุจไก่ที่อยู่ในเข่งจิกตีกัน หรือทำลายสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรแก่พวกเราให้กลายเป็นสภาพแวดล้อมที่สร้างความหายนะให้แก่พวกเรา
เราอาจจะมุ่งแต่อัตตปัจเจกบุคคลมากเกินไป จึงมีพลวัตสังคมเกิดขึ้นดังกล่าว ข้างต้น โดยที่เราลืมแหงนมองดูโครงสร้างอะไรหรือที่ทำให้เราวิกฤต ทำให้เราพบกับหายนะ นายแพทย์ประเวศ วะสี (2559) ได้ให้ข้อคิดกับเราว่า สังคมไทยถูกครอบงำ ด้วยโครงสร้างที่บีบคั้นคนที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของโครงสร้างนั้น จำนวน 5 โครงสร้าง ได้แก่
1.โครงสร้างระบบราชการ
2.โครงสร้างวัฒนธรรมอำนาจ
3.โครงสร้างทางศาสนา
4.โครงสร้างทางปัญญา
5.โครงสร้างความครอบงำจากต่างชาติ
จากการศึกษาการรับรู้ปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กรอบโครงสร้างดังกล่าวข้างต้นของนักเรียนระดับชั้น ป.5-ม.3 ในเขตพื้นที่การศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 พบว่า
รายการ |
ค่าแฉลี่ย |
SD. |
ค่าความเบ้ |
ค่าความโด่ง |
Alpha if item deleted |
ผลรวมปัจจัยต่างๆ จากอิทธิพลโครงสร้างระบบราชการ |
6.3 |
0.9 |
-1.3 |
-0.09 |
0.14 |
ผลรวมปัจจัยต่างๆ จากอิทธิพลโครงสร้างวัฒนธรรมอำนาจ |
6.8 |
1.2 |
-1.4 |
-0.05 |
0.24 |
ผลรวมตัวชี้วัดโครงสร้างทางศาสนา |
3.4 |
1.1 |
1.0 |
0.28 |
0.18 |
ผลรวมตัวชี้วัดโครงสร้างทางปัญญา |
4.7 |
1.3 |
0.07 |
0.19 |
0.19 |
ผลรวมตัวชี้วัดโครงสร้างการครอบงำจากต่างชาติ |
4.2 |
1.8 |
0.02 |
0.05 |
0.25 |
ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อถือได้ของมาตรวัด = 0.51 |
จากผลการศึกษาข้างต้น พบว่า อนาคตของชาติถูกครอบงำจากโครงสร้างวัฒนธรรมอำนาจ (ค่าเฉลี่ย 6.8) และโครงสร้างระบบราชการ (ค่าเฉลี่ย 6.3) ที่พวกเขารับรู้ว่ากดทับ บีบคั้น ลดทอนศักยภาพและความสุขของพวกเขา
โครงสร้างมรณะลำดับถัดมา คือโครงสร้างทางปัญญา ที่ถือว่าพลวัตทางสังคมเกี่ยวกับโครงสร้างทางปัญญาก็ไม่ได้บีบคั้น กดทับพวกเขามากนัก พวกเขายังรู้จักเลือกสรรหรือหลีกเลี่ยงหรือไม่ให้ความสนใจได้ดีในระดับหนึ่ง
ส่วนโครงสร้างทางศาสนาและการครอบงำจากต่างชาติ ก็ไม่ได้บีบคั้น กดทับต่ออนาคตของชาติมากนัก เรียกว่ายังรู้เท่าทันสื่อทั้งไม่ออนไลน์และไม่ออนไลน์ได้ดี
จะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอนาคตของเยาวชนควรเลิกโทษสภาพสังคมภายนอก หันมาปรับปรุงพัฒนากิจกรรม/แผนการเรียนการสอนร่วมกับนักเรียน ปรับปรุงวัฒนธรรมในการเรียนรู้ร่วมกัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมสถานศึกษาร่วมกันอันเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย อันเป็นการสลายอิทธิพลโครงสร้างวัฒนธรรมอำนาจลง
ในเรื่องความปลอดภัยจากสาธารณภัย การร่วมใจกันลดความเสี่ยงภัยพิบัติ เป็นอย่างไร
จากผลการศึกษาปัจจัยด้านความปลอดภัยจากสาธารณภัย และปัจจัยด้านแนวทางในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ก็ชี้ว่ามาจากอิทธิพลโครงสร้างระบบราชการ และโครงสร้างวัฒนธรรมอำนาจ กลุ่มตัวอย่างรับรู้หรือแสดงว่ามาจากโครงสร้างทางปัญญา น้อยมาก ร้อยละ 9.8
—————55555555—————–