วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ลักษณะหรือสภาวะที่เราจะเรียกว่าเกิดอุทกภัยขึ้น เพื่อจะได้ตระหนักในการวางแผนป้องกัน เตรียมการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น มีลักษณะ ดังนี้

1. สภาวะที่น้ำไหลล้นเอ่อล้นฝั่งแม่น้ำ ลำธาร คลองหรือแม้กระทั่งทางน้ำ

2. สภาวะที่น้ำไหลออกจากพื้นที่ไม่ทัน (น้ำรอการระบาย)

3. สภาวะที่เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำพัง https://thaiflood.kapook.com/view176340.html

4. สภาวะที่มีฝนตกหนักมาในพื้นที่ต้นน้ำที่ห่างไกลออกไป เช่น เหตุที่เกิดอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ในปี 2562 https://www.esanbiz.com/20090

สาเหตุการเกิดอุทกภัย มาจาก 2 สาเหตุ คือ

1.เกิดจากธรรมชาติ

2.เกิดจากการกระทำของมนุษย์

1.สาเหตเกิดจากธรรมชาติ

1.1 เกิดพายุฝนฟ้าคะนองติดต่อกันหลายๆ ชั่วโมงติดต่อกัน มีปริมาณน้ำ้มากจนไม่สามารถไหลลงสู่ที่ต่ำกว่าได้เป็นเวลาหลายๆ วัน

1.2 มีปริมาณฝนตกในพื้นที่ห่างไกลที่สูงกว่าพื้นที่ตนเอง แต่มีทางน้ำไหลผ่านพื้นที่

1.3 น้ำ้ทะเลหนุน น้ำไม่สามารถไหลลงทะเลได้เป็นเวลาหลายๆ วัน  ทำให้มีน้ำเอ่อ น้ำท่วมขัง https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_2682425

2.สาเหตุเกิดจากการกระทำของมนุษย์

2.1 การขยายรุกล้ำพื้นที่ลุ่มต่ำ  ที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเดิมในอดีต  เมื่อมีน้ำเท่ากับปริมาณเดิมเมื่อในอดีต ก็จะเอ่อไหลไปท่วมขัง สร้างความเสียหายในพื้นที่อื่นๆ ที่ต่ำกว่า https://www.bbc.com/thai/thailand-41135173

2.2 การมีสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ขวางทางเดินของน้ำเดิม  ทำให้น้ำระบายได้น้อยลง จนท่วมขังในพื้นที่เป็นเวลาหลายๆ วัน http://www.rid.go.th/thaicid/_5_article/7symposium/7th-02.pdf

2.3 ไม่บำรุงรักษาแม่น้ำลำคลอง ที่อาจจะตื้นเขิน (จากขยะ จากมวลดินที่ถูกซะล้างมาในพื้นที่ที่ไม่มีพืชคลุมดิน หรือพื้นที่ทำการเกษตร)  มีวัชพืชขึ้นเป็นจำนวนมาก  สร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำแม่น้ำ้ลำคลอง  ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมขังในพื้นที่เป็นเวลาหลายๆ วัน  http://www.thaiwater.net/web/attachments/304_Aisawan_paper.pdf

2.3 การตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ต้นน้ำ เมื่อไม่มีต้นไม้ น้ำจะมีอัตราการไหลที่สูงขึ้น (ไหลเร็วและแรงมากขึ้นกว่าเมื่อมีต้นไม้) เมื่น้ำไหลมารวมในพื้นที่ต่ำในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดการระบายไม่ทันเกิดขึ้น http://www.dnp.go.th/research/Journal/Vol2_No2/SurfaceSoilErosion.htm

 

———————///////////////———————-