วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จากการที่มีกลุ่มบุคคลฉวยโอกาสก๊วนซื้อหน้ากากอนามัยจากผู้ผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อจัดส่งขายให้กับเครือข่ายธุรกิจที่มีความต้องการสูงสุดและเสนอราคาซื้อดีที่สุดในตลาด ซึ่งในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประเทศจีนมีความต้องการสูงสุด จนราคาจำหน่ายพุ่งขึ้นสูงมากกว่าราคาปกติ 40 เท่า  สร้างความร่ำรวยให้กับผู้เกี่ยวข้องในเวลาชั่วข้ามคืน

โดยทั่วไป เมื่อเกิดสาธารณภัยประเภทต่างๆ ขึ้น นอกจากจะมีภารกิจที่จะต้องช่วยเหลือปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนคนในชาติแล้ว จะต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนในการรักษาชีวิตประชาชนให้รอดปลอดภัยเป็นลำดับแรก รองลงมาก็เป็นทรัพยากรในการดำรงชีวิตให้อยู่ได้และปลอดภัย

ในกรณีของโรคระบาด ทรัพยากรที่จำเป็น ได้แก่

1. เวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการรักษา  ต้องมีอย่างเพียงพอ จัดระบบการปันส่วนและจัดหาให้เพียงพอให้มีความปลอดภัย และเป็น 
มาตรฐานทั่วประเทศ

2. เครื่องอุปโภคบริโภค ต้องมีอย่างเพียงพอ จัดระบบการปันส่วนและควบคุมสินค้าในภาวะขาดแคลน ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายใน 
ตลาดและซุปเปอร์มาร์เก็ตให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมาตรฐานทั่วประเทศ

3. อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการสื่อสาร และบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (ฺBig data)

4. จัดหางบประมาณเพื่อดำเนินการป้องกัน แก้ไข และเตรียมพร้อมรับปัญหา

5. ยานพาหนะ พนักงานประจำยานพาหนะ เส้นทางหลัก เส้นทางสำรองหรือเส้นทางชั่วคราวในการขนส่งคมนาคม

6. น้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการในการป้องกัน แก้ไขเตรียมพร้อมรับปัญหา

7. สถานที่กักกันโรคระบาด

8. บุคลากร เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน

เมื่อมีความกลัวประกอบเข้ากับความเห็นแก่ตัว  ทำให้เกิดการกักตุนทรัพยากรที่จำเป็นขึ้นในสังคม ซึ่งเกิดได้ในกลุ่มคนทุกระดับชั้น บางประเทศที่มีคนดีเยอะๆ คนเลวกับคนดีน้อยๆ แต่เลวกับตนเองอย่างที่สุดมากๆ เหล่าคนดีก็จะมีการกักตุนได้สะดวกสามารถกระทำกันเป็นกระบวนการระดับชาติ สร้างความทุกข์ระทมได้ทั่วแผ่นดิน แม้ปากจะกล่าวอวดอ้างตลอดเวลาว่าอาสามาทำหน้าที่บริหารจัดการปัดเป่าความทุกข์ร้อน สร้างความอยู่เย็นเป็นสุขให้เกิดขึ้นในประเทศชาติก็ตาม

กรณีหน้ากากอนามัยในประเทศไทยช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประชาชนและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลขาดแคลน แม้รัฐบาลจะส่งทหารไปคุมโรงงานทั้ง 11 แห่งให้เร่งผลิตเต็มกำลัง แต่จำนวนที่ผลิตออกมาได้ไม่ได้มีปรากฏภายในประเทศ ภายในประเทศมีการขาดแคลน

การแก้ไขปัญหา ก็มีการใช้เงิน 225 ล้านบาทจัดสรรให้กองพันสองหน้าไปฝึกอบรมการผลิตหน้ากากอนามัยให้กับคนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่นคัดเลือกเข้ามารับการฝึกอบรม (เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ไปผลิตก็คงต้องใช้เอง ไม่มีกระบวนการส่งเสริมอะไรออกมา และคงสนับสนุนให้พ่อค้าผู้ผลิตผลิตขายกันอย่างมหาศาลร่ำรวยกันไป) เป็นโครงการขายหน้าเอาผ้ารอด  ไว้เกิดโรคระบาดครั้งหน้าก็ค่อยว่ากันใหม่ ช่วงนี้สร้างโอกาสกอบโกยกันให้พุงปลิ้นกันเสียก่อน

ฉนั้นหน้าที่ในการที่จะวางจริยธรรมให้มีปรากฏในสังคมนั้น จะต้องร่วมกันผลักดัน บอกกล่าวผลกระทบ บอกกล่าวความไร้ประสิทธิภาพของมาตรการจริยธรรมที่สังคมมีอยู่ว่าไม่สามารถนำสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของบุคคลผู้หนึ่งผู้เดียวหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่ง

ทั้งนี้ หน้ากากอนามัย มี 3 ชนิด ได้แก่

1.ชนิด N95 ป้องกันการระบาดจากการไอหรือจามได้ดีที่สุดในขณะนี้ รวมทั้งป้องกันฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้

 

 

2.ชนิดผ้าฝ้าย ป้องกันการติดต่อโรคจากการไอ การจาม ไม่สามารถกันฝ่นละอองที่เล็กกว่า 3 ไมครอนได้

3.ชนิดเยื่อกระดาษ 3 ชั้น ชนิดนี้ควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง สมรรถนะในการป้องกันการระบาดเหมือนหน้ากากชนิดที่ 2

 

 

 

——————//////////////////————————-