วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ไฟป่า หายนะที่ถูกละเลยจากประชาสังคม ปัญหาไฟป่าเป็นปัญหาหนึ่งที่ถูกละเลยจากประชาสังคม ทำให้ปัญหาเรื้อรังและลุกลามใหญ่โตกว้างขวางขึ้นทุกปี ในห้วงหน้าแล้งของภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ไฟป่าที่โหมกระพือเผาผลาญนานนับสัปดาห์ แบบเย้ยหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบว่าไม่มีประสิทธิภาพในอาชีพของตน

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/873019สร้างผลกรทบไม่เฉพาะในพื้นที่ที่เกิดไฟป่า ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กได้แผ่ปกคลุมทั่วพื้นที่หายๆ จังหวัด บางจังหวัดติดรายชื่อเป็นเมืองที่มีมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็กลำดับต้นๆ ของโลก ด้วยในภาคเหนือเมืองจะตั้งในหุบเขาที่ลักษณะการถ่ายเทอากาศไม่ดีอยู่แล้วเมื่อมีความกดอากาศสูงแผ่ปกคลุมที่ชั้นบน

ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐมีโครงสร้างในการปฏิบัติการควบคุมป้องกันไฟป่า ด้วย 3 โครงสร้าง ที่แสดงความเป็นเป็ดง่อยให้เราดูทุกๆ ปี คือ

1. การบังคับใช้กฎหมายป้องกันควบคุมไฟป่า

ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมไฟป่าโดยตรง ในทางปฏิบัติจึงต้องอาศัยพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับป่าไม้ 4 ฉบับ คือ 1) พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484  2)พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 3)พระราชบัญญัติอุทยานแห่ชาติ พ.ศ. 2504 4)พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535  http://forestfire.dnp9.com/forestfire/web1/web/mainfile/Wvn1MecIQqby.pdf ที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามจุดไฟเผาป่า และมีบทก าหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ดังกล่าว

2. หน่วยงานป้องกันและควบคุมไฟป่า

มี 3 กรม ที่มีหน่วยงานภายในที่มีหน้าที่ป้องกันและควบคุมไฟป่า

2.1 กรมป้่าไม้ มีสำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า  และหน่วยส่งเสิมการควบคุมไฟป่า

2.2 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืชมี สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า  และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1-16

2.3 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.)  โดยมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นเลขานุการ ประสานการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ทั้งในภาวะปกติ  ในภาวะใกล้เกิดภัย แลในภาวะเกิดภัย

3. การสนับสนุนหน่วยงานหลัก ตามข้อ 2

3.1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม https://govesite.com/uploads/20170203101034xU8RQyv/20190618104954_1_xWLR4VV.pdf

หน่วยงานตามข้อ 2 สามารถร้องขอให้หน่วยอื่นที่มีศักยภาพสนับสนุนช่วยเหลือให้เข้ามาร่วมดำเนินการได้

3.2 พ.ร.บ.กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 http://nppao.go.th/UserFiles/File/pppj.pdf

กรมป่าไม้ได้ดำเนินการตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยถ่ายโอนการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพื้นที่ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของ อบต. (ปี 2562 โอนไปแล้ว 1,803 แห่ง)

หากเราทนไม่ไหวกับเป็ดง่อย ที่ต้องทนเห็นไฟป่าในทุกๆ ปี ต้องทนกับฝุ่นละอองขนาดเล็กทุกๆ ปี เราควรจะดำเนินการดังนี้

1. เรียกร้องให้ทหารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยปรับปรุงแก้ไขแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2548 ให้ทหารมีหน้าที่โดยตรงตามพื้นที่ความรับผิดชอบ ปัจจุบันทหารก็ดำเนินการนะครับ  แต่เป็นการข่มขู่ชาวบ้านให้เลิกเผาป่า (ความรักชาติรักแผ่นดินสูงลิ่ว  ความโปร่งใสดีเลิศ)

2. ลงทุนซื้อเครื่องบินแบบ fire bombing/air tanker หรือเครื่องบินที่ใช้เพื่อดับเพลิงโดยเฉพาะ ที่จุน้ำ/โฟม/เจลดับเพลิง ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 44,000 ลิตร ไปจนถึง 15,142 ลิตร ที่มีไว้ทุ่มมวลน้ำขนาดใหญ่สำหรับดับเพลิงโดยเฉพาะ หรือเฮลิคอปเตอร์ แบบ fire bombing ที่สามารถทั้งบรรทุกคน เพื่อนำไปสู่จุดหมายในการดับเพลิง และทั้งบรรจุน้ำเป็นพันลิตร ซึ่งมีสมรรถนะในการดับเพลิงอย่างสูง ไม่ใช่ฮ.ที่ใช้โดยสาร แต่นำมาห้อยกระป๋องน้ำ บินแกว่งไปมาอย่างน่าเอน็จอนาถ นับร้อยเที่ยวที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ แถม กอปภ.ก.ทุ่มซื้อเฮลิคอปเตอร์ตั้ง 2 ลำ ไว้คอยบริการภารกิจ ICS จอดรอคอยให้ประหยุดนั่งไปเดี่ยวไมโครโฟนสอนสั่งแนะนำชาวบ้าน

3. รัฐหันมาให้ความสำคัญเป็นวาระแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้อยู่ในสภาพปัจจุบัน ที่อุปกรณ์ primitive ราคาถูกแบบเดิม ส่งคนเสี่ยงตายไปดับไฟ ที่ปราศจากหลักประกันความปลอดภัย และไร้ประสิทธิภาพในการดับเพลิง มิหนำซ้ำ ยังต้องขอรับบริจาคอาหารและน้ำดื่มจากประชาชน เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเหล่านี้ ราวกับว่าปัญหานี้ ไม่เคยเป็นวาระใดๆของรัฐ และปล่อยให้หน่วยงานท้องถิ่นและอาสาสมัคร แก้ไขกันไปเองตามยถากรรม   ปล่อยให้ กอปภ.ก. (ระดับสูงสุด 84,000 เซล ระดับนี้ก็คง 4-5 หมื่นเซล) สั่งให้ท้องถิ่นจัดงบประมาณฝึกอบรมเจ้าหน้าที่แบบไร้ศักยภาพที่จะปฏิบัติงาน http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2012/10/11312_1.pdf?time=1351526229975

 

————————————–////////////////———————————————