ในระบบนิเวศหนึ่งใด การที่เราจะอยู่รอดปลอดภัยหรือได้รับผลประโยชน์ใดๆ ภายใต้ความยากลำบากของผู้คนรอบๆ ข้าง แม้ว่าตนเองจะได้แต่ก็ทำลายสภาพนิเวศรอบๆ ตัว ให้เลวร้าย ผู้ร่วมโลกเดือดร้อนขึ้นทั้งที่ไม่ควรจะได้รับ
การมองว่าตนเองเป็นปัจเจกที่สามารถทำอะไรก็ได้ หรือไม่มองเห็นคุณประโยชน์ของปฏิสัมพันธ์อันดีอันเป็นระบบที่ยุติธรรมในสังคม เรียกได้ว่าไม่มีความเป็นภารดรภาพ (ภราดรภาพ (Fraternité) คือความเป็นพี่เป็นน้องกัน มนุษย์ทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมกันและปฏิบัติต่อกันดุจพี่น้อง ความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์ คือ การไม่เน้นผิวพรรณ หรือ เผ่าพันธุ์) การสำแดงฤทธิเดชเยี่ยงนี้ในสังคมก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคมhttps://www.matichon.co.th/columnists/news_1721548 /https://www.snf.or.th/2019/2020/01/10/new-individualism/
แม้ในความเห็นของกลุ่มนักวิชาการที่เห็นสถานการณ์ที่สังคมเผชิญสาธารณภัยจะเป็นจุดเปลี่ยนของสังคม ตัวอย่างเช่น ในช่วงปี 2563 ไทยเผชิญภาวะการระบาดของไวรัสโคโรน่า จนต้องมีการดำเนินมาตรการรุนแรงที่เพิ่มความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้เกิดผลกระทบออกมา https://socadmin.tu.ac.th/uploads/socadmin/file_document/Proceeding66year.pdf เช่น
1.เว้นระยะห่างทางสังคมhttps://med.mahidol.ac.th/th/infographics/172 //https://www.thaigov.go.th/infographic/contents/details/2764
2.การสลับสับเปลี่ยนกันทำงานที่บ้านของหลายๆ องค์กรhttps://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1801051
3.การหยุดสายการผลิตของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้คนเป็นหน่วยผลิตจำนวนมาก
4.การหยุดกิจกรรมทางสังคมที่มีคนมาชุมชนุมกันมากกว่า 50 คนขึ้นไปhttps://ilaw.or.th/node/3292
5.หยุดกิจการค้าขนาดใหญ่ ที่มีคนมาใช้บริการมากๆhttps://www.isranews.org/isranews-article/82560-news-82560.html
6.การลดบริการขนส่งสาธารณะhttps://www.tnnthailand.com/content/34185
7.การห้ามเข้า-ออกพื้นที่บางพื้นที่https://travel.trueid.net/detail/l1lro9ORoJO5
ฯลฯ
การดำเนินมาตรการต่างๆ ดังกล่าวเปิดเผยให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งความเหลื่อมล้ำที่ทำให้คนด้อยโอกาสต้องเผชิญความทุกข์ยาก โครงสร้างทางสังคมต่างๆ ผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงมากขึ้น https://thai-inequality.org/pages/change โครงสร้างทางสังคมละเลยการเสียเปรียบของกลุ่มคนไร้อำนาจ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานของผู้มีอำนาจบริหารที่มิอาจเข้าใจเพียงบริบทของปัจจัยทางระบาดวิทยา คือ บุคคล สถานที่ และเวลา เท่านั้น แต่บริบททางวัฒนธรรมที่กำกับกำกับถูกมองข้ามในหลายๆ กลุ่มหลายๆ วัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดหายนะทางเศรษฐกืจของประเทศตามมาhttps://www.prachachat.net/columns/news-443874
————————-////////////———————–