การบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้ระบบสหจังหวัดใต้ร่มเงารัฐราชการดีหรือไม่อย่างไร เป็นคำถามจำเป็นที่คนไทยจะต้องตระหนักในการพิจารณาดูผลได้ผลเสียที่เกิดขึ้นกับตนเอง อันจะได้ไม่ต้องทุกข์ยากลำบากในอนาคตที่เราทุกคนมีสิทธิมีอำนาจที่จะกำหนดเลือกได้ โดยต้องมีความเชื่อพื้นฐานว่าประชาชนสามารถประเมินความสามารถของรัฐได้
ประเทศไทยมีระเบียบกฎหมายที่บริหารจัดการภัยพิบัติ ที่ส่งผลให้เกิดการทำงานใน 4 ระดับ คือ
1.ระดับท้องถิ่น
2.ระดับจังหวัด
3.ระดับหลายๆ จังหวัด (ระบบสหจังหวัด)
4.ระดับชาติ
กลไกการทำงานที่เห็นเป็น 3 ระดับนั้น มาจากพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธาณณภัย พ.ศง 2550 ที่กำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการภัยพิบัติ มาจากแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ฯลฯ
และเป้าหมายของกลไกการทำงานทั้ง 3 ระดับ ก็เพื่อเป้าหมาย 2 ประการ คือ
1. เพื่อความมั่นคง เป็นการตอบสนองรับรองว่าในภาวะคับขันเผชิญภัยพิบัติประชาชนจะไม่ต้องกลัวว่าจะอดตาย จะไร้ที่นอน จะขาดแคลนยา ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม รับรองได้ว่าในยามภัยพิบัติจะได้รับความช่วยเหลือทุกคนอย่างเต็มกำลังความสามารถ (ต่างจากนิยามการให้ความหมายของความมั่นคงของเผด็จการ ที่ความมั่นคงเป็นเรื่องของการคงอยู่ของตนคงอยู่ของระบบระบอบของตนเอง โดยจะพยายยามสร้างภาพลักษณ์ที่เหมาะสมในการอยู่ในอำนาจ ดูมีความชอบธรรมที่จะดำเนินการออกข้อบังคับข้อกำหนดต่อประชาชน)
2.เพื่อความปลอดภัย เป็นการรับรองว่าภายใต้สถานการณ์ภัยพิบัติยากลำบากแค่ไหนประชาชนจะยังคงมีลมหายใจต่อสู้ชีวิตต่อไป
ในยามเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ ระดับ 4 รัฐบาลที่มีความสามารถก็จะเข้าบริหารตามระบบ ICS อย่างรับผิดชอบเต็มรูปแบบ แต่ถ้าเป็นรัฐบาลที่สมองน้อยเพียง 84000 เซลก็จะใช้ระบบสหจังหวัด (ลูกกระวานเขาช่ำชองที่มั่วสั่งให้ลูกน้องทำแล้วคอยสั่งปรับนั่นปรับนี่ ให้ดูเหมือนว่าตัวเองฉลาด ตัวเองหัวหมุนทำงานต้องคอยทำตามนายสั่งต้องคอยไม่ให้ประชาชนด่าให้นายตำหนิติเตียน)
แล้วระบบสหจังหวัดภายใต้รัฐราชการ(อำนาจบริหารทางการเมืองของประเทศอยู่ภายในกรอบมุมมองและวัฒนธรรมการทำงานของข้าราชการ) ดีไม่ดีอย่างไร
ข้อดี
1.สามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติที่ส่งต่อการบรรลุเป้าหมายเฉพาะพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระเบียบกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่
2.สร้างการรับรู้ที่ดีที่จะส่งผลต่อวิวัฒนาการความร่วมมืออย่างยืดหยุ่นในประเทศต่อไป ทั้งรับรู้จากการเปรียบเทียบการปฏิบัติระหว่างพื้นที่ การเปรียบเทียบข้อสั่งการข้อกำหนด รับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้น รับรู้ประสิทธิภาพของนโยบาย ฯลฯ
3.กระตุ้นกลไกการทำงานของข้าราชการในพื้นที่ได้ดี
ข้อเสีย
1.ระยะเวลาในการระงับสถานการณ์ในภาพรวมประเทศจะยืดยาวขึ้น เนื่องจากขาดมาตรการที่เป้าหมายชัดเจน อีกทั้ง จากการทำงานที่ล่าช้า (กรณีตัวอย่างในต้นปี 2563 การระบาดของไวรัสโคโรน่า รัฐบาลไม่่มีมาตรการที่เหมาะสม เพียงพอ ทันต่อความต้องการของประชาชนได้ เพราะไม่เข้าใจปัญหาของผู้ได้รับผลกระทบจากแต่ละกลุ่ม รวมถึงไม่เข้าใจสภาพความเหลื่อมล้ำที่กำลังเกิดขึ้น แต่สามารถออกมาตรการที่เอื้อต่อกลุ่มทุนและเอกชนได้อย่างรวดเร็วกว่าด้วยการรับประกันการกู้เงิน ตั้งกองทุนอุ้มตราสารหนี้ของภาคเอกชน แต่สำหรับประชาชนแม้สถานการณ์มาถึงช่วงปลายๆ แล้ว แต่เพิ่งตื่นหรือต้องการควบคุมประชาชนไปในตัว จึงทอดระยะเวลาการควบคุมประชาชนออกไปอีด้วยการสั่งตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคโควิท 19 https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_302853) และวัฒนธรรมหน้าไว้หลังหลอกของข้าราชการ
2.การต่อรองเชิงนโยบายของประชาชนเป็นไปได้ยาก เพราะถึงแมีพื้นที่จะกำหนดนโยบายกำหนดมาตรการได้เอง แต่ก็เพื่อแสดงหน้าตาให้ผู้บังคับบัญชาได้ชื่นชมตัวเองถึงความสำเร็จตามเป้าหมายตามที่หวังเท่านั้น หาใช่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพตามธรรมาภิบาลหรือตามความเดือดร้อน ความต้องการจำเป็นการบำบัดทุกข์ของประชาชน
3.รัฐบาลลอยตัว คอยรับแต่ผลดี (ผลพลอยได้เสมอ) อย่างเข่น การระบาดของไวรัสโควิท 19 ช่วงต้นปี 2563 ถ้าดีขึ้น รัฐจะบอกว่า “เพราะนโยบายของรัฐบาลดี” กองเชียร์ของรัฐจะออกมาเฮละโลโปรโมตสังคมคนดี เพิ่มความชอบธรรมให้คณะประยุทธ์ ถ้าสถานการณ์เลวลง จะเป็นเพราะ “ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ” “คนไปล้อมวงกินเหล้ากัน” ฯลฯ ความผิดจะถูกผลักมาอยู่กับประชาชน ไม่ใช่รัฐ เพราะรัฐทำอะไรก็ดีไปหมดแหละ
ไม่ว่าทางไหน กระแสที่เคยเกือบจุดติดก่อน COVID-19 อย่าง วิ่งไล่ลุง 1MDB ป่ารอยต่อ งบกลาง การจัดซื้อจัดจ้างอาวุธ ม๊อบนักศึกษา ก็เริ่มมอดไปแล้ว ตอนนี้รัฐมีข้ออ้างใหม่ในมือด้วยหากใครต้องการจุดกระแสขึ้นมาใหม่ ข้ออ้างที่ว่าคือ “ประเทศไทยบอบช้ำมามากพอแล้ว อย่าสร้างความไม่สงบ” “อย่าทำตัวเป็นมารผจญความสุขของสังคมไทย” “เห็นไหมว่าภายใต้การนำของรัฐบาลนี้ พาให้นาวาประเทศผ่านวิกฤติครั้งใหญ่มาได้ก่อนประเทศอื่นๆ”
————————7777777777————————–